กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2183
ชื่อเรื่อง: ฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอยบริเวณปากแม่น้ำประแสร์ จังหวัดระยอง พ.ศ. 2553
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
ประสาร อินทเจริญ
สุธิดา กาญจน์อติเรกลาภ
พรนันท์ คุณธร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ตะกอนแขวนลอย
ฟลักซ์
แม่น้ำประแสร์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: ได้ทำการศึกษาฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอยบริเวณปากแม่น้ำประแสร์ในปี พ.ศ. 2553 ในสามช่วงเวลา ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ (ฤดูแล้ง) ครั้งที่ 2 วันที่ 17-18 พฤษภาคม (ปลายฤดูแล้ง) และครั้งที่ 3 วันที่ 8-9 ตุลาคม (ปลายฤดูน้ำมาก) ฟลักซ์สุทธิของน้ำมีทิศไหลจากปากแม่น้ำออกสู่ทะเลในทุกฤดูกาล มีปริมาณ 2.60 × 106 m3/day ในช่วงฤดูแล้ง, 0.23 × 106 m3/day ในช่วงปลายฤดูแล้ง และ 0.43 × 106 m3/day ในช่วงปลายฤดูน้ำมาก ข้อมูลความเค็มและคุณภาพน้ำอื่นๆ จากสองระดับความลึกแสดงให้เห็นว่า เอสทูรี บริเวณปากแม่น้ำประแสร์เป็นแบบผสมผสานกันดีในช่วงฤดูแล้งและเป็นแบบแบ่งชั้นในช่วงฤดูน้ำมาก สำหรับปริมาณฟลักซ์สุทธิของ ตะกอนแขวนลอยที่ไหลผ่านเข้าออกปากแม่น้ำประแสร์ในฤดูแล้งมีทิศไหลออกสู่ทะเลในปริมาณ 103.66 ton/day ช่วงปลายฤดูแล้งมี ทิศไหลเข้าปากแม่น้ำในปริมาณ 110.11 ton/day และปลายฤดูน้ำมากมีทิศไหลออกสู่ทะเลในปริมาณ 63.21 ton/day ปริมาณตะกอน แขวนลอยในมวลน้ำมีแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นและลดลงสอดคล้องกับความแรงของกระแสน้ำ โดยปริมาณจะเพิ่มขึ้นเมื่อกระแสน้ำมี กำลังแรงและลดลงในช่วงที่กระแสน้ำอ่อนกำลังลง แสดงถึงความสำคัญของกระบวนการฟุ้งกระจายของตะกอนจากพื้นท้องน้ำกลับสู่ มวลน้ำ (resuspension) ที่ส่งผลต่อฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอยที่บริเวณปากแม่น้ำแห่งนี้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2183
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
232-245.pdf1.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น