กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2181
ชื่อเรื่อง: ภาวะการทำงานและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ นายจ้างต่อบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป (4 ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2549
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีระพงษ์ ภูริปาณิก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การจ้างงาน
ความพอใจในการทำงาน
บัณฑิต - - การจ้างงาน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ภาวะการทำงานและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างต่อบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารทั่วไป(๔ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา ๒๕๔๙ เป็นการวิจัยเชิงผสมระหว่างเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวการณ์ทำงานของบัณฑิตฯ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างต่อบัณฑิตฯ และเพื่อศึกษาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัญฑิตฯ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารทั่วไป (๔ปี) ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๑๒๓ คน และผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง ของบัณฑิตที่มีงานทำแล้วทั้งสิ้น จำนวน ๖๖ คน ผลการศึกษามีข้อสรุปดังนี้ ๑. จากการศึกษาเกี่ยวกับภาวการณ์ทำงานของบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารทั่วไป (๔ปี) ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้วิจัยพบว่า บัณฑิตที่จบแล้วส่วนใหญ่ได้ทำงาน ร้อยละ ๖๒.๖ ยังไม่ได้ทำงานร้อยละ ๑๙.๕ กำลังศึกษาต่ออย่างเดียวร้อยละ ๑๐.๖ และทำงานแล้วและกำลังศึกษาต่อร้อยละ ๗.๓ ตามลำดับ กรณีบัณฑิตที่ทำงานแล้วพบว่า ส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานเอกชน โดยทำงานในตำแหน่งพนักงานทั่วไปมากที่สุด และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง ๘,๐๐๐ -๑๐,๐๐๐ บาท และจากการวิจัยพบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่มีวิธีการสมัครงานด้วยตนเอง โดยสมัครงาน ๑-๒ ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาในการทำงานครั้งแรกระหว่าง ๑-๓ เดือน และสาเหตุที่ทำให้ได้รับคัดเลือกเข้าทำงานคือมีบุคลิกภาพที่ดี เช่น กิริยาวาจา ความคล่องตัว กระตือรือร้น เป็นต้น และส่วนใหญ่ได้ทำงานที่ไม่ตรงหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง/สัมพันธ์หรือไม่ ได้ใช้ความรู้ทั้งวิชาเอกและวิชาโท ส่วนปัญหาที่พบในการสมัครงาน ได้แก่ สอบเข้าทำงานไม่ได้ มีการอาศัยพวกพ้องในการรับเข้าทำงาน และเงินเดือนค่าตอบแทนต่ำว่าวุฒิ สำหรับบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อส่วนใหญ่ศึกษาต่อในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยบูรพามากที่สุด ร้อยละ ๒๗.๔ โดยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้นร้อยละ ๓๖.๔ ส่วนสำหรับบัณฑิตที่ยังไม่มีงานทำ มีสาเหตุมาจากยังหางานที่ถูกใจไม่ได้ กับยังอยู่ในระหว่างการรอผลการสอบข้อเขียน/สอบสัมภาษณ์ มากที่สุด ร้อยละ ๑๙.๐ ๒. จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างต่อบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารทั่วไป (๔ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้วิจับพบว่านายจ้าง/ผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่ มีระดับความพึงพอใจต่อการทำงานของบัณฑิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างพึงพอใจอยู่ในสามอันดับแรก คือ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและสถานที่,ความมีมนุษยสัมพันธ์,การมีคุณธรรมและความซื้อสัตย์สุจริต และความมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่พบว่านายจ้าง/ผู้บังคับบัญชามีระดับความพึงพอใจต่อการทำงานของบัณฑิตอยู่ในสามอันดับสุดท้าย คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะ,คำแนะนำในการทำงาน,ความเป็นผู้นำ,และความสามารถด้านภาษาต่างประเทศตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2181
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
73-91.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น