กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2140
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community-based tourism OTOP village champion Ban Talad Lang, Sriracha district province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิสราภรณ์ พลนารักษ์
กมลวรรณ รอดหริ่ง
ศิริวรรณ ภิญโญสิริพันธุ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว
การบริหารจัดการ
การมีส่วนร่วม
ชุมชน
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการบริหารจัดการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษากระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชน (2) ระบุระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC และ (3) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริการจัดการของประชาชนที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกของโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มแรกเป็นคณะกรรมการบริหาร โครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวทั้งหมดจำนวน 9 คน กลุ่มที่สองคือ ประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชุมชนทั้งที่เป็นสมาชิกโครงการและไม่เป็นสมาชิกโครงการที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนจำนวนทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือรวบรวมแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างซึ่งผ่านการทดสอบความตรง และความคงที่แล้วการรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึง มกราคม 2555 และนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยเชิงสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยในแต่ละวัตถุประสงค์สรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว ผลวิจัยพบว่าคณะกรรมการบริหารโครงการมีการปฏิบัติตามขั้นตอนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์จำนวน 4 ขั้นตอน จากขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ซึ่งได้แก่ ขั้นตอนการทบทวนการกำหนดทางภารกิจและเป้าหมายในการจัดทำแผนกลยุทธ์ การทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อดำเนินการ การนำแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนขั้นตอนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดนั้น คณะกรรมการบริหารโครงการไม่ได้มีการปฏิบัติ แต่อย่างใด 2) ผลการวิจัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวในกระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยว 5 ขั้นตอนนั้น พบว่าผู้ให้ข้อมูลที่เป็นสมาชิกมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการในระดับน้อยจำนวน 4 ขั้นตอน และไม่มีส่วนร่วมเลย 1 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล ส่วนผู้ให้ข้อมูลที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ผลวิจัยพบว่าไม่มีส่วนร่วมในขั้นตอนใดเลย 3) การเปรียบเทียบความแตกต่างระดับการมีส่วนร่วมของผุ้ให้ข้อมูลที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกในกระบวนการบริหารจัดการด้วยสถิติ t-test พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในทุกขั้นตอน โดยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นสมาชิกมีระดับการมีส่วนร่วมที่สูงกว่าผู้ให้ข้อมูลที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2140
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
25-46.pdf383.37 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น