กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2112
ชื่อเรื่อง: ศิวราตรี : วันแห่งความรักของชาวเบงกอลตะวันตก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศุภรางศุ์ อินทรารุณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ศาสนาพราหมณ์ - - พิธีกรรม
ศาสนาพราหมณ์
ศิวะ
สาขาปรัชญา
อินเดีย - - ความเป็นอยู่และประเพณี
วันที่เผยแพร่: 2548
บทคัดย่อ: ในคืนวันแรม ๑๓ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เดือนผาลคุน อันตกอยู่ในราวเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม มีเทศกาลชื่อว่าศิวราตรีหรือมหาศิวราตรี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการอภิเษกสมรมของพระศิวะกับพระนางปารวตี เทพเจ้าที่นับถือกันมากที่สุดคู่หนึ่งในอินเดีย คืนนี้กล่าวกันว่าเป็นคืนที่พระศิวะร่ายรำท่ารำที่เรียกว่า ตาณฆฑ ซึ่งหมายถึงการสร้างโลก และการทำลายล้างโลก ในวันนี้สตรีทั้งที่แต่งงานแล้วและยังไม่แต่งงานทั่วประเทศอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบงกอลตะวันตกมักจะประกอบพิธีด้วยความจงรักภักดีและศรัทธาอย่างสูงด้วยการอดอาหารและถวายเครื่องสังเวยศิวลึงค์ พร้อมทั้งตั้งความปรารถนาให้ได้สามีที่ดี ความสุขในชีวิตสมรส และชีวิตอันยาวนานและอุดมสมบูรณ์ ประชาชนทั่วไปก็อดอาหารและท่องบ่นพระนามพระศิวะ โดยเชื่อว่าจะทำให้หลุดพ้นจากบาปทั้งปวงและเข้าถึงศิวโลกที่ประทับของพระศิวะ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2112
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
1-17.pdf545.92 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น