กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2095
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุกัญญา บูรณเดชาชัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.available2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2095
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเรื่องวิถีชีวิตและกระบวนการประมงของชาวประมง ในหมู่บ้านประมงหาดวอนนภา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยทำการศึกษาครอบคลุมถึงวิถีชีวิต กระบวนการทำประมง ปัจจัยการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต พิธีกรรม ความเชื่อ การเจริญเติบโตของครอบครัวและการสืบทอดอาชีพประมง และการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของหมู่บ้าน จากการศึกษาพบว่าหมู่บ้านหาดวอนนภา มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ จากการเข้ามาตั้งรกรากของครอบครัวชาวบ้านเพียง ๒-๓ ครอบครัว ต่อมาจำนวนครอบครัวได้เพิ่มมากขึ้นจากการแต่งงาน โดยความสัมพันธ์เครือญาติเป็นไปอย่างแนบแน่นเกื้อกูลกัน เกิดระบบเครือญาติจากทางสายเลือกและจากการแต่งงานกัน ทำประมงเป็นอาชีพหลักทั้งเลี้ยงตัวเอง ยังชีพและค้าขาย ทั้งสดและแปรรูป รองลงมาคือ ค้าขายและรับจ้าง การทำประมงใช้ระบบการผลิตแบบเสรี มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ โดยมีกระบวนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันเรื่องระยะเวลาการออกทะเลเท่านั้น โดยเริ่มจากสำรวจบริเวณที่มีสัตว์ทะเลอยู่แล้วจึงวางอวนแล้วจึงแบ่งส่วนเพื่อบริโภคและขายต่อไป สำหรับปัจจัยการผลิตประกอบด้วยทรัพยากรทางทะเล แรงงานจากเดิมเป็นสมาชิกในครอบครัวเป็นระบบการว่าจ้าง ทุนจากที่เป็นเรือ ลอบ อวน ปัจจุบันก็มีการเพาะพันธ์สัตว์น้ำ รวมทั้งแปรรูปเป็นอาหารแห้งเก็บไว้บริโภคและจำหน่าย โดยมีหัวหน้าครัวเรือนทำหน้าที่จัดการการผลิต ซึ่งอาหารทะเลที่ผลิตได้ก็จะนำมาบริโภคในครัวเรือน ซึ่งอาหารอื่นๆ จะอาศัยจากสภาพแวดล้อมและร้านค้าที่อยู่ใกล้บ้าน ด้านเทคโนโลยีการผลิตพัฒนาจากแหและเรือใบมาใช้เครื่องมือที่สามารถจับสัตว์น้ำได้ครั้งละมากขึ้น และใช้เครื่องมือเรือแทนแรงลม หรือใช้การจ้างแรงงานจากภายนอก ถึงแม้ว่าการผลิตจะพัฒนาไปแต่ความเชื่อเรื่องแม่ยานางยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่น โดยต้องประกอบพิธีกรรมเช่นไหว้แม่ย่านางก่อนที่จะออกเรือทุกครั้ง ขณะที่ได้มีการจัดกลุ่มเกษตรประมงหมู่บ้านบางแสนล่าง (หมู่บ้านวอนนภา) ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่จัดหาตลาดและแปรรูปสินค้า รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและแผนการรักษาระบบนิเวศทางทะเล เพื่อนำทรัพยากรนั้นมาแปลงเป็นรายได้หมุนเวียนต่อไป เป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สิน การเปลี่ยนอาชีพหรือย้ายถิ่นฐานและเพื่ออนุรักษ์อาชีพประมงซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สั่งสมมานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ไม่ให้หายไปจากหมู่บ้านแห่งนี้th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectชลบุรี - - ความเป็นอยู่และประเพณีth_TH
dc.subjectชาวประมง - - การดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectประมง - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleวิถีชีวิตและกระบวนการทำประมง : กรณีศึกษาหมู่บ้านประมงหาดวอนนภา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe Study Of The Fishermen's Ways of Life and Their Fisheries: A Case Study of the Fisherman in Hatwonnapha Fisherman's Village, Muang, Chon Burien
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue20
dc.volume14
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study and collect information on the fishermen’s ways of life on eastern coast of Thailand, and the current situation and problems occurring in the village focusing on the fishermen who do fishing as their main career including the fishery culture, the characteristics of the community, belief and rituals, families and population, economy and politics, and social and cultural change in the production process of Hatwonnapha village. The study found that Hatwonnapha village was formed before World War II from the only 2-3 households settled down here, and then the village was expanded by marriage. The villagers gained good relationships among their kinsmen which its system is formed in two different ways; people related by blood and related by marriage. Most of the villagers are fisherman, vendor, and laborers respectively. Nowadays, fishing can serve one’s family, and the fishery products are enough to sell as both fresh sea food and recessed ones. The production system in this village is considered independently, however there are middle men in the village who offer prices for the products. Processes of fishing among people in this village are similar. The only difference among people here is the time each person heads to sea. Before leaving for fishing, the fishermen have to view the sea and they have to figure out which parts of the sea have fish, prawns, and crabs. The boat departs then nets are launched and they always mark where the nets launched with poles and flags. After dragging the nets back, fish and other sea creatures will be divided and sold. Factors affecting the production of this village are resources or the sea, labor,capital and production management by the head of the family. Most of the time the villagers eat what they get from the sea, and they also buy some products from the grocery stores nearboy. Technology has been used in this community. Now boats have engines and instruments. They have to hire people from other villages to help with their fishing. The villagers here remains strongly believe in Mae Yaa Nang, so before departing to sea, they always worship the goddess of the boat. Now the Lower Bangsaen Fishing Group has been formed to find marketplaces and to help with transformation and reservation of marine resources and help conserve the ecosystem in the sea. Then the resources can be used as their capital. This group will still help solve the debts, careers changing, and migration problems and will help keep the local wisdom existing in this career of fishing which is considered local wisdomen
dc.journalวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.page47-67.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p47-67.pdf1.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น