กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2085
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอนุกูล บูรณประทีปรัตน์
dc.contributor.authorประสาร อินทเจริญ
dc.contributor.authorธวัชชัย นาอุดม
dc.contributor.authorกิตติยา หอมหวน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.available2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2085
dc.description.abstractคณะผู้วิจัยทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนระหว่าง วันที่ 19-20 มีนาคม 2552 และวันที่ 24–25 สิงหาคม 2552 พบว่าค่าเฉลี่ยของตะกอนแขวนลอยทั้งหมดในน้ำ แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ฟอสเฟต และคลอโรฟิลล์-เอ มีความแตกต่างกันเชิงเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pearson’s Correlation Coefficient(r); p<0.05) การแพร่กระจายเชิงพื้นที่แสดง ให้เห็นว่าอุณหภูมิและออกซิเจนละลายน้ำมีค่าใกล้เคียงกันทั้งอ่าวทั้งในสองฤดูกาล ความเค็มในเดือนมีนาคม มีค่าสูงทางด้านตะวันออก และค่อยๆ ลดลงด้านฝั่งตะวันตกของอ่าว ตะกอนแขวนลอยทั้งหมดในน้ำมีค่าสูงและแพร่กระจายทั่วทั้งพื้นที่ในเดือนสิงหาคม แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ฟอสเฟต ซิลิเกต และคลอโรฟิลล์-เอ ไม่แสดงแนวโน้มการแพร่กระจายเชิงพื้นที่ที่ชัดเจนทั้งสองฤดูกาล คุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้ายกเว้นแอมโมเนียที่มีค่าความเข้มข้นต่ำกว่าและมีความผันแปรค่อนข้างสูงสัดส่วนของเรดฟิลด์แสดงให้เห็นว่าสารอาหารกลุ่มไนโตรเจนเป็นปัจจัยจำกัดในการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชสอดคล้องกับไนเตรทที่ต่ำลงในเดือนมีนาคม ค่าแอมโมเนียที่สูงกลางอ่าวอาจเกิดจากการขับออกมาจากเซลล์หรือจากการตายของแพลงก์ตอนพืชที่เกิดการสะพรั่ง ค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ำในเดือนสิงหาคม ได้แก่ ความเค็ม อุณหภูมิ แอมโมเนีย ตะกอนแขวนลอยทั้งหมดในน้ำ และออกซิเจนละลายน้ำ มีความแตกต่างกันตามความลึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งชั้นน้ำในอ่าวไทยตอนบน ในขณะที่มีเพียงอุณหภูมิเท่านั้นที่มีความแตกต่างตามความลึกในเดือนมีนาคม ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างค่า คลอโรฟิลล์-เอ กับคุณภาพน้ำอื่น ๆth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่th_TH
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาth_TH
dc.subjectคลอโรฟิลล์th_TH
dc.subjectคุณภาพน้ำth_TH
dc.subjectน้ำทะเลth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาและพื้นที่ของคุณภาพน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนในสองฤดูกาลช่วงปี พ.ศ. 2552th_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume18
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe variations of water qualities in the upper Gulf of Thailand during 19-20 March 2009 and 24-25 August 2009 were investigated. Suspended solids, ammonia, nitrite, nitrate, phosphate and chlorophyll-a showed significantly different between seasons (Pearson’s Correlation Coefficient(r); p<0.05). The spatial distributions of temperature, dissolved oxygenand silicate showed similar valued in both periods. Salinity in March was high at the east and slightly decrease at the west of the gulf. Suspended solids in August was high and spread for the whole gulf. The spatial trends of ammonia, nitrite, nitrate, phosphate, silicate and chlorophyll-a were unclear in both periods. Most parameters were in ranges of those reported in previous studies, except ammonia whose concentration was lower than the previous studies with high variation. Based on Redfield ratio, DIN (ammonia, nitrite and nitrate) was the limiting factor for primary productivity, corresponding to the reduction of nitrate in March. High ammonia concentration at the middle of the gulf during this time might occur due to the excretion of living or dead phytoplankton cells. Salinity, temperature, ammonia, suspended solids and dissolved oxygen significantly varied with depth in August (p<0.05) while only temperature did in March (p>0.05). The results did not show statistical relationship between chlorophyll-a and other water qualities (p>0.05).en
dc.journalวารสารวิทยาศาสตร์บูรพา
dc.page32-42.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
32-42.pdf2.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น