กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2074
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสงวน ธานี
dc.contributor.authorอาภรณ์ ดีนาน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:12:37Z
dc.date.available2019-03-25T09:12:37Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2074
dc.description.abstractภาวะอ้วนในวัยรุ่นส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจต่อวัยรุ่น ครอบครัว และสังคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งการป้องกันและลดน้ำหนักในวัยรุ่นมีความยุ่งยากซับซ้อน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เกี่ยวกันภาวะอ้วน วิธีการป้องกัน และการจัดการภาวะอ้วนของวัยรุ่นไทย กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย วัยรุ่นและบิดามารดา จำนวน 6 คู่ และครูแนะแนวประจำโรงเรียน จำนวน 1 ราย ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการสนทนากลุ่มหลังเลิกเรียน นานประมาณ 3 ชั่วโมง โดยใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างในการดำเนินการอภิปรายผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นและผู้ปกครองมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนแตกต่างกัน วัยรุ่นให้มุมมองเกี่ยวกับความอ้วนว่า เป็นภาวะปกติ พบเห็นได้ทั่วไป ไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ในมุมมองของผู้ปกครอง ภาวะอ้วนมีความเชื่อมโยงกับข้อมูลทางสุขภาพและประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต สำหรับการจัดการภาวะอ้วนพบว่า ทั้งเด็กและผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักหรือมีกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะอ้วน แต่จะเริ่มตระหนักและมีกิจกรรนมควบคุมน้ำหนักเมื่อวัยรุ่นมีลักษณะที่บ่งชี้ภาวะอ้วนเกิดขึ้น การจัดการภาวะอ้วนส่วนใหญ่มักเกิดจากผู้ปกครอง การจัดการภาวะอ้วนจะเน้นที่การมีความรู้และตระหนักเกี่ยวกับภาวะอ้วน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงดู การเป็นตัวแบบ (role model) ที่ดีในการป้องกันและควบคุมน้ำหนัก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหรและเพิ่มการออกกำลังกายให้แก่วัยรุ่น รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดการควบคุมน้ำหนัก ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางด้านสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้อย่างลึกซึ่งแก่วัยรุ่นและผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะอ้วนและผลกระทบของภาวะอ้วน นักวิจัยควรพัฒนาโปรแกรมการป้องกันและควบคุมน้ำหนักเกินสำหรับวัยรุ่น เช่น การให้ความรู้และเพิ่มทักษะการป้องกันและควบคุมภาวะอ้วนแก่ผู้ปกครอง การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การสร้างตัวแบบที่ดีแก่วัยรุ่นในการควบคุมน้ำหนัก และการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย เป็นต้นth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectวัยรุ่น - - สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectโรคอ้วนth_TH
dc.subjectโรคอ้วน - - การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleภาวะอ้วนของวัยรุ่น: ประสบการณ์การป้องกันและควบคุมน้ำหนักเกินของวัยรุ่นและผู้ปกครองth_TH
dc.title.alternativeObesity among adolescents: Preventive and management experiences of adolescents and their parentsen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue3
dc.volume21
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeObesity among adolescents impacts adolescents, families, and society. It is difficult to manage obesity because most weight control programs usually involve adolescent development. The objective of this study was to explore issues related to obesity, cause and effects, and management of obesity from experiences of adolescents, their parents, and school guidance teacher. Six pairs (6 adolescent and 6 parent dyad) and a school guidance teacher were recruited to participate in a focus group. A semi-construct questionnaire was used to conduct the 3-hour focus group session. The results showed that adolescents and parents viewed different on obesity. Adolescents viewed obesity as usual phenomenon and no effect to their lifestyles; whereas, parents inked obesity and health and illness from health information and their own experiences. Both adolescents and parents did not initiate any activity to prevent obesity. When obese indicators appear, parents concerned about their child chubby and establish obesity management for their adolescents relied on parenting style, role model, and behavioral modification to reduce obesity. From research results, health care providers should give clearly information about obesity and it impacts to adolescents and parents. Skill training for obese management should provide to parents of obese adolescents. For further research, parenting style, sole model, and behavioral modification should be used as substantial of preventive and weight control program for Thai adolescentsen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = The Journal of Faculty of Nursing Burapha University
dc.page60-71.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
60-71.pdf1.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น