กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2056
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพิริยา ศุภศรี
dc.contributor.authorสุภาวดี เงินยิ่ง
dc.contributor.authorวรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:12:36Z
dc.date.available2019-03-25T09:12:36Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2056
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ และการจัดการกับความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์เมื่อวันครบกำหนดคลอดมารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลราชบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 60 ราย และจับคู่กลุ่มตัวอย่างในเรื่องของความตั้งใจในการมีบุตร เพื่อคัดเข้ากลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ และด้านการจัดการกับความเครียด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ .89 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมและทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ และดารจัดการกับความเครียดภายหลังการทดลองในกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (t29 = 21.47, p < .01 และ t29 = 21.66, p < .01 ตามลำดับ) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1,57 = 311.33, p < .01 และ F1,57 = 254.52, p < .01 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลประจำคลินิกฝากครรภ์ควรนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพนี้ไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและครอบครัว เพื่อส่งเสริให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ และ การจัดการกับความเครียดที่ดีขึ้นth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectสตรีมีครรภ์ - - สุขภาพจิตth_TH
dc.subjectโภชนาการth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและการจัดการกับความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นth_TH
dc.title.alternativeEffects of a health promotion program on nutritional health behavior and stress management in pregnant adolescentsen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue4
dc.volume21
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThis two-group pretest-posttest quasi-experimental research aimed to determine effects of the health promotion program on nutritional health behavior and stress management in pregnant adolescents. Sample included 60 first-time pregnant women with their age of 20 years old or younger at the date of confinement, receiving ante-natal services at Ratchaburi hospital. Convenience sampling was used to recruit the sample. There were matched-paired on intention of having a baby and assigned into two group, control and experimental. Thirty subjects in the control group received usual nursing care while the other30 subjects in the experimental group received the health promotion intervention program plus usual nursing care. Research instruments consisted of the demographic questionnaire, the nutritional health behavior questionnaire and the stress management questionnaire. The last two questionnaires have been established their content validity, and had their internal consistency reliability of .89 and .5, respectively. Data were analyzed by using frequency, percent, standard deviation, analysis of co-variance (ANCOVA) and t-test. Results showed that after receiving the intervention program, average score of the nutritional health behavior and the stress management in the experimental group were higher than those within the group before receiving the program (t29 = 21.47, p < .01 and t29 = 21.66, p < .01, respectively) and higher than between the group (F1,57 = 311.33, p < .01 and F1,57 = 254.52, p < .01, respectively). These finding suggest that nurses who work at ante-natal clinics, should apply this health promotion program to care for pregnant adolescents and their family, and that would lead to improve nutritional health behavior and stress management of pregnant adolescentsen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = The Journal of Faculty of Nursing Burapha University
dc.page37-48.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus21n4p37-48.pdf58.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น