กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2053
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorดวงทรัพย์ วรรณประเวศ
dc.contributor.authorสหัทยา รัตนจรณะ
dc.contributor.authorสุวดี สกุลคู
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:12:36Z
dc.date.available2019-03-25T09:12:36Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2053
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายตามทฤษฎีการตั้งแหมายร่วมกันของคิงต่ออัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ ความพึงพอใจในการบริการ พยาบาลของผู้ป่วยเบาหวาน และความพึงพอใจของพยาบาลในการปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชล 1 จังหวัดชลบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคัดเลือกแบบตามสะดวกเข้า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการวางแผนจำหน่ายตามทฤษฎีการตั้งเป้าหมายร่วมกันของคิง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับรูปแบบการแผนจำหน่ายตามปกติ และพยาบาลที่รับผิดชอบการวางแผนจำหน่าย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้มนการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวาน แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลในการปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .97 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาไคสแคว์ การทดสอบฟิชเชอร์เอ็กซ์แทรกซ์เทสต์ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -10.61, p < .05) และความพึงพอใจของพยาบาลมนการปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 19.41, p < .05) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลควรสนับสนุนให้พยาบาลประยุกต์ใช้การวางแผนจำหน่ายคามทฤษฎีการตั้งเป้าหมายร่วมกันของคิงเพื่อความพึงพอใจในการบริการพยาบาลของผู้ป่วยและความพึงใจของพยาบาลในการปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectความพึงพอใจของผู้ป่วยth_TH
dc.subjectบริการการพยาบาลth_TH
dc.subjectโรงพยาบาล - - การรับและจำหน่ายผู้ป่วยth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายตามทฤษฎีการตั้งเป้าหมายร่วมกันของคิงที่มีต่ออัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวาน และความพึงพอใจของพยาบาลในการปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายth_TH
dc.title.alternativeEffects of using discharge planning based on King's theory of goal attainment on readmission rate and diabetes patients' satisfaction with nursing service and nurses' satisfaction with discharge planningen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue4
dc.volume21
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research design aimed to studied the effects of using discharge planning based on King’s theory of goal attainment on readmission rates and diabetes patients’ satisfaction with nursing service and comparing nurses satisfaction with discharge planning. Samples consisted of diabetes mellitus patient and nurses from Aikchol 1 hospital, Chonburi province. They were conveniently selected and were assigned into experimental and control group equally. Thirty patients of the experimental group received discharge planning based on Kong’s theory of goal attainment and the other 30 patients of the control group received regular discharge, planning. Additionally, fifteen nurses who responsible for discharge planning also participated in this study. Instruments consisted of the readmission form, the diabetes mellitus patients’ satisfaction with nursing service questionnaire, and the nurses’ satisfaction with using the discharge planning questionnaire. Content validity by the expert panels was performed and Cronbach’s alpha coefficients reliability were obtained with .97 and .94, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-squaare test, Fisher’s exact test and t-test. The finding revealed that the readmission rate if diabetes mellitus patients in the experimental group was not statistically different comparing to the control group. The diabetes patients’ satisfaction of nursing service in the experimental group was significantly higher than that of the control group (t = -10.61, p < .05) as well as the nurses’ satisfaction of the posttest was significantly higher than the pretest (t = 19.41, p < .05) The results of the this study suggest nurse administrators should facilitate nursing staff to apply this discharge planning based on kink’s theory of goal attainment in order to increased patients’ satisfaction with nursing service and nurses’ satisfaction with discharge planningen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = The Journal of Faculty of Nursing Burapha University
dc.page1-13.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus21n4p1-13.pdf64.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น