กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2049
ชื่อเรื่อง: การทำนายผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาสถิติเบื้องต้นของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ด้วยการวิเคราะห์การจำแนกและข่ายงานระบบประสาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prediction of learning achievement on elementary statistics course of Burapha University undergraduate students by discriminant analysis and neural networks
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปรียารัตน์ นาคสุวรรณ์
กิดาการ สายธนู
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การจำแนก
การวิเคราะห์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: การทำนายผลสัมฤทธิ์ในการเรียนในการเรียนของวิชาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี เช่น วิชาสถิติเบื้องต้น ของมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นงานที่ยากและท้าทายความสามารถ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อทำนายผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาสถิติเบื้องต้น ตัวแบบทำนายผลสัมฤทธิ์ในการเรียนพิจารณาจากการลงทะเบียนวิชาสถิติเบื้ัองต้นระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ในปีการศึกษา 2553 พบว่าตัวแปรอิสระที่มีความสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของนิสิตในการศึกษาครั้งนี้ ไแด้แก่ เพศ คณะที่นิสิตศึกษา ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาแคลลูลัส การลงทะเบียนเรียนวิชาสถิติเบื้องต้นในในภาคเรียนที่ทำการศึกษาเป้นครั้งแรก เกรดเฉลี่ยสะสมของนิสิตก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และเกรดเฉลี่ยสะสมปัจจุบันของนิสิต ส่วนตัวแปรตามที่ใช้ทำนายผลสัมฤทธิ์ในการเรียนซึ่งกำหนดโดยการแบ่งกลุ่มนิสิตเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ไม่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเป็นนิสิตที่ได้เกรด W และ F 2) กลุ่มเสี่ยงเป็นนิสิตที่ได้เกรด D และ 3) กลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นนิสิตที่ได้เกรด A, B+, B, C+, C และ D+ สำหรับการสร้างตัวแบบจะประยุกต์ที่ใช้ทั้งการวิเเคราะห์การจำแนกและข่ายงานระบบประสาท โดยการวิเคราะห์การจำแนกเป็นวิธีการที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อสมมติเชิงสถิติ ในขณะที่ข่ายงานระบบประสาทเป็นวิธีการที่ไม่ต้องการข้อสมมติเชิงสถิติใด ๆ ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบข่ายงานระบบประสาทสามารถจำแนกประเภทของกลุ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนได้ดีกว่าการวิเคราะห์การจำแนก ซึ่งเห็นได้จากสัดส่วนความถูกต้องของตัวแบบในการจำแนกของเมทริกซ์ confusion ของข้อมูลทั้งหมดในการสร้างตัวแบบข่ายงานระบบประสาทมีค่าเท่ากับ 76.9% และตัวแบบการวิเคราะห์การจำแนกมีค่าเท่ากับ 67.1%
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2049
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p59-68.pdf3.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น