กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2037
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorบุญรัตน์ ประทุมชาติ
dc.contributor.authorสกนธ์ แสงประดับ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:10:38Z
dc.date.available2019-03-25T09:10:38Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2037
dc.description.abstractนำปูม้าอายุ 40 และ 100 วัน ที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ขนาดความกว้างของกระดอง 4.1±0.1 และ 5.8±0.2 เซนติเมตร น้าหนักตัว 10.5±0.3 และ 56.5±0.6 กรัม ตามลำดับ มาทดสอบการเลี้ยงในบ่อคอนกรีตขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร ความหนาแน่น 30 ตัวต่อตารางเมตร ในความเค็ม 30 ppt ใช้อาหารสาเร็จรูปทรงท่อนความยาว 2.5 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร และความยาว 4 มิลลิเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.0 มิลลิเมตร สำหรับปูม้าอายุ 40 วัน และอายุ 100 วัน ตามลำดับ ด้วยโปรตีน 4 ระดับ (4 ชุดการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์) ได้แก่ 30%, 35%, 40% และ 45% ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง อัตรา 5 % ต่อน้ำหนักตัว ระยะเวลาทดสอบการเลี้ยงนาน 60 วัน ทาการทดลอง 3 ซ้ำ ตรวจสอบจำนวนปูม้าที่ลอกคราบหรือตายทุกวัน และนำปูม้าทุกตัวมาทำการชั่งน้ำหนักและวัดความกว้างของกระดองทุก ๆ 15 วัน นำข้อมูลน้ำหนัก ความกว้างของกระดอง ความถี่ในการลอกคราบ การรอดตาย และอัตราการแลกเนื้อ มาหาความแตกต่างทางสถิติด้วยการวิเคราะห์หาความแปรปรวนแบบแจกแจงทางเดียว (One-way ANOVA) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธี Duncan’s New multiple range test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก ๆ 5 วัน ได้แก่ พีเอช อัลคาไลนิตี้ อุณหภูมิ ออกซิเจนที่ละลายน้า แอมโมเนีย และ ไนไตรท์ ตลอดการทดลองจากการทดลองพบว่าระดับโปรตีน 40% และ 35% เป็นระดับที่เหมาะสมต่อปูม้าอายุ 40-100 วัน และอายุ 100-160 วัน ตามลำดับ กล่าวคือ การใช้โปรตีน 40% และ 45% ปูม้าอายุ 40-100 วัน มีการเจริญเติบโต (%ขนาดความกว้างของกระดองที่เพิ่มขึ้นและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น) อัตรารอด และอัตราแลกเนื้อไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่ทั้ง 2 ระดับนี้มีค่าการเจริญเติบโต อัตรารอด สูงกว่าการใช้โปรตีน 35% และ 30% (p<0.05) และปูม้าที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีน 35% ให้ค่าการเจริญเติบโตสูงกว่า และอัตราแลกเนื้อต่ำกว่าการใช้โปรตีน 30% (p<0.05) การใช้ระดับโปรตีน 35%, 40% และ 45% เลี้ยงปูม้าอายุ 100 วัน มี %ขนาดความกว้างของกระดองและน้าหนักที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่ปูม้าที่เลี้ยงด้วยโปรตีนทั้ง 3 ระดับนี้ มีขนาดความกว้างของกระดองและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตรารอด สูงกว่าที่ระดับโปรตีน 30% (p<0.05) อัตราแลกเนื้อของปูม้าที่เลี้ยงอาหารโปรตีน 40% และ 45% มีค่าไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่ทั้ง 2 ระดับนี้มีค่าต่ำกว่าการใช้โปรตีน 30% (p<0.05) และปูม้าที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีน 35% มีค่าต่ำกว่าที่การใช้อาหารโปรตีน 30% (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกับการใช้อาหารโปรตีน 40% โดย%ความถี่ของการลอกคราบของทุกชุดทดลองในแต่ละการทดลองไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ทั้ง 2 การทดลองth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectปูม้า -- การเลี้ยงth_TH
dc.subjectปูม้า -- อาหารth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนาอาหารเม็ดสาเร็จรูปเพื่อเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus) โดยพิจารณาจากขนาดและระดับโปรตีนth_TH
dc.title.alternativeDevelopment on pellet feed for blue swimming crab (Portunus pelagicus) culture in consideration of size and protein level in feeden
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailboonyara@buu.ac.th
dc.author.emailsakonsangpradub@gmail.com
dc.year2560
dc.description.abstractalternativeForty days-old and a hundred days-old crabs (Portunus pelagicus) from culture were used for the study. External carapace width and total weight of them were 4.1±0.1 cm and 5.8±0.2 cm, 10.5±0.3 g and 56.5±0.6 g, respectively. The experimental crabs were raised in a cubic meter concrete pond at 30 ind/m2 in 30 ppt. Pellet in cylinder form of 2.5 and 4 mm in length with 1.5 mm, 2 mm in diameter at four protein levels of 30%, 35%, 40% and 45% using completely randomized design were respectively used for forty days-old and a hundred days-old crabs. Feed with rations of 5% body weight of crab were applied in feeding tray, three times a day for 60 days. Three replications were done. Dead or molted crabs were daily checked. Every 15 days, the external carapace width and total weight of an experimental crab of each treatment were individually examined. The data of external carapace width, total weight molt frequency, survival rate and feed conversion ratio were analyzed by one-way ANOVA and compared means using Duncan’s New multiple range test at 95% level of confidence. Every five days, water quality as pH, alkalinity, temperature, dissolved oxygen, ammonia and nitrite were checked throughout the experimental period. The results found that 40% and 35% protein in pellet was respectively suitable for 40-100 and 100-160 days-old crab. Growth in terms of % external carapace width (%ECWG) and % total weight gain (%TWG) , survival rate and feed conversion ratio (FCR) of 40 days-old crab fed on 40% and 45% protein were not significant different (p>0.05). But growth parameter and survival rate of both levels were significantly higher (p<0.05) than those of at 35% and 30% protein. Growth parameter and FCR of crab fed on 35% protein were also significantly (p<0.05) higher and lower than those of at 30% protein. Percentage of ECWG and TWG of 100 days-old crab fed on 35%, 40% and 45% protein were not significant different (p>0.05). But %ECWG, %TWG and % survival rate of these protein levels showed significantly higher (p<0.05) than those fed on 30% protein. FCR of crab fed on 40% and 45% proteins was not significantly (p>0.05) different. Both level was significantly (p<0.05) lower than that of 30% protein. FCR of crab fed with 35% protein showed significantly (p<0.05) lower than that of 30% but it was not significantly (p>0.05) different with 40% protein. Molting frequency among treatments in each experiment was noten
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2563_045.pdf580.61 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น