กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2022
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่นโดยหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of executive functions of the brain of adolescent by integrative learning modules
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ แหนจอน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบบูรณาการ
หน้าที่บริหารจัดการของสมอง
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและพัฒนาวิธีการประเมินหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่น ศึกษาระดับและวิเคราะห์องค์ประกอบของหน้าที่บริหารจัดการของสมองในวัยรุ่น รวมทั้งพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่น (EEFs-Ado) กรวิจัยแบ่งเป็น 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นขั้นตอนการศึกษากรอบแนวคิด ทฤษฎี องค์ประกอบ การประเมินและการพพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่น ระยะที่ 2 เป็นขั้นตอนการพัฒนามาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองด้วยการสำรวจพฤติกรรม-แบบรายงานตนเอง (BRIEF-SR) ฉบับภาษาไทย และหลักสูตร EEFs-Ado ระยะที่ 3 เป็นขั้นตอนการศึกษาระดับและองค์ประกอบหน้าที่บริหารจัดการของสมองในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จังหวัดชลบุรี อายุระหว่าง 11-14 ปี จำนวน 381 คน (ชาย 188 คน และหญิง 193) ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือการวิจัย คือ มาตรวัด BRIEF-SR ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัย พบว่า 1. วัยรุ่นชายมีคะแนนเฉลี่ยความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมอง 136.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 18.33 และวัยรุ่นหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมอง 128.77 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 16.28 2. วัยรุ่นหญิงมีคะแนนความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมองน้อยกว่าวัยรุ่นชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3. วัยรุ่นที่มีผลการเรียน >2.75 มีคะแนนความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมองน้อยกว่าวัยรุ่นที่มีผลการเรียน≤2.75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 4. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันหน้าที่บริหารจัดการของสมอง พบว่าโมเดลการวัดสอดคล้องกับข้ออมูลเชิงประจักษ์ เป็นปามทฤษฎี มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ดัชนีการกำกับพฤติกรรมและดัชนีเมต้าคอกนิชั่น ระยะที่ 4 เป็นขั้นตอนทดสอบประสิทธิผลของหลักสูตร EEFs-Ado กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนต้น จำนวน 58 คน ที่สมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 29 คน กลุ่มทดลองได้รับการอบรมหลักสูตร EEFs-Ado สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ 50 นาที รวม 9 ครั้ง และประเมินความพึงพอใจ สวนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติจากโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินหน้าที่บริหารจัดการของสมองด้วย BRIEF-SR ฉบับภาษาไทย ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2. วัยรุ่นที่ได้รับหลักสูตร EEFs-Ado มีคะแนนความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมองน้อยกว่ากว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะหลังและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 3. วัยรุ่นที่ได้รับหลักสูตร EEFs-Ado มีคะแนนความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมมองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลน้อยกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) สรุปได้ว่า หลักสูตร EEFs-Ado มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองของวัยรุ่น ระยะที่ 5 การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตร EEFs-Ado ผลการวิจัย พบว่า วัยรุ่นมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(x ̅=4.52,SD=.74) และวัยรุ่นสะท้อนความคิดว่ามีความสุข สนุกสนาน ได้ฝึกทักษะสำคัญของ EFs ที่สามารถนำไปใช้เสริมสร้าง EFs ในชีวิตประจำได้อยางยั่งยืน นอกจากนี้วัยรุ่นต้องการให้มีการอบรมเพื่อเสริมสร้าง EFs อย่างต่อเนื่อง และควรขยายผลไปยังนักเรียนชั้นอื่น ๆ ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2022
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_156.pdf20.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น