กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/202
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบ Vibrio parahaemolyticus และ Vibrio vulnificus ในหอยนางรมและสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดารัตน์ สวนจิตร
อภิรดี ปิลันธนภาคย์
สุรีย์พร เอี่ยมศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: แบคทีเรีย
หอยนางรม - - การปนเปื้อน
แบคทีเรีย - - การทดสอบ
แบคทีเรีย - - การวิเคราะห์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวิธีการที่อาศัยพื้นฐานของปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจสอบแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus และ Vibrio vuinificus จากหอยนางรม โดยในปฏิกิริยาสามารถตรวจสอบแบคทีเรียทั้งสองชนิดได้พร้อมกันยีนเป้าหมายที่นำมาใช้ในการตรวจสอบ Vibrio parahaemolyticus ได้แก่ tl (thermolabile hemolysin gene) และ tdh (thermostable direct hemolysin gene) ส่วนการตรวจสอบ Vibrio vuinificus ใช้ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง hemolysin / cytolysin หรือ vvh เป็นยีนเป้าหมาย ไพร์เมอร์ที่ใช้ในการศึกฦษษมีความจำเพาะต่อแบคทีเรียทั้งสองชนิดดังกล่าวเท่านั้น สภาวะที่เหมาะสำหรับการดำเนินปฏิกิริยา PCR แบบมัลติเพล็กซ์ ใช้แมกนีเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 3.0มิลิโมลาร์ และอถณหภูมิสำหรับการลงเกาะของไพร์เมอร์บนดีเอ็นเอแม่แบบคือ 63 องศาเซลเซียส จาการศึกษาวิธีที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมดีเอ็นเอแม่แบบจากเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในหอยนางวรม พบว่า การใช้ SDS –Proteinase K lysis solution ร่วมกับการตกตระกอนดีเอ็นเอด้วยไอโดพรพานอล ให้ผลการดำเนินปฏิกิริยาค่อนข้างดี ความไวงของเทมคนิคในการตรวจ V. parahaemolyticus และ V. Vuinificus โดยตรงจากตัวอย่างหอยนางรมคือ 100 CFU ต่อกรัม และเมื่อเพิ่มขั้นตอนการเพิ่มปริมาณเชื้อในหอยนางรมก่อนการทำ PCR พบว่าเทคนิคนี้มีความไวของการตรวจสอบสูงได้สูงขึ้น (1 CFU ต่อกรัม) เทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้ ได้ผ่านการทดสอบความใช้ได้จริงโดยเปรียบเทียบกับวิธีตรวจสอบมาตรฐาน ซึ่งมีค่าความแม่นยำ ความจำเพาะและความไวของการตรวจสอบ 96-100เปอร์เซนต์ จึงสามารถนำเทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ในการตรวจสอบ V. parahaemolyticus และ V. Vuinificus แทนวิธีดั้งเดิมได้ ซึ่งสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วกว่า ซึ่งมีประโยชน์ในการลดปัญหาการเจ็บป่วยหรือการตายที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียทั้งสองชนิด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/202
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น