กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2008
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี (ปีที่ 3): การจัดการความรู้และศึกษาศักยภาพในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนํา ครอบครัวและชุมชนหลังได้รับการพัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development Family and Community Health Leader for Elderly in Community; Saensuk Happiness Family Health Leader Model (Phase II)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เวธกา กลิ่นวิชิต
พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
สรร กลิ่นวิชิต
พวงทอง อินใจ
คนึงนิจ อุสิมาศ
พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ - - การดูแล
แกนนำสุขภาพ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อจัดการความรู้และศึกษาศักยภาพในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของ แกนนําครอบครัวและชุมชนหลังได้รับการพัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคคล ในครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุของครัวเรือนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้จํานวน 377 คน ศึกษาศักยภาพด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาด้าน สุขภาพของผู้สูงอายุ และด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. การรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชน ก่อนได้รับการพัฒนามีการรับรู้ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( X =3.16,SD = 0.68) และหลังได้รับการพัฒนา มี การรับรู้ อยู่ในระดับมาก ( X =3.55, SD = 0.89) การรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของ แกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชน ก่อนได้รับการพัฒนามีการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ใน ระดับ ปานกลาง ( X =5.09) และหลังได้รับการพัฒนา อยู่ในระดับค่อนข้างทําได้แน่นอน ( X =8.35) 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนํา ในภาพรวม ก่อนและหลังได้รับการพัฒนา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -3.872, p <.001) และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ได้แก่ ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในปัจจุบัน (t = -3.487, p <.001) ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ ในอดีต (t = -4.640, p <.001) ด้านความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ (t = 4.787, p <.001) ด้านการ รับรู้ความต้านทานหรือความอ่อนแอของผู้สูงอายุ (t = -2.969, p <.01) ด้านการรับรู้แนวโน้มสุขภาพของ ผู้สูงอายุ (t = -2.178, p <.05) ด้านการยอมรับความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ (t = -2.143, p <.05) และด้าน ทัศนคติบวกต่อการไปรับการรักษาจากแพทย์ (t = -2.207, p <.05) โดยมีด้านการปฏิเสธความเจ็บป่วยของ ผู้สูงอายุ ที่ไม่มีความแตกต่างกัน (t = 0.109, p = 0.46) 3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของแกนนํา ก่อนและหลังได้รับการพัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ในภาพรวม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -9.565, p <.001) โดยพบว่า ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญที่ระดับ .001 ได้แก่ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการผ่อนปรน (t = -3.707, p <.001) ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้สูงอายุ (t = -7.735, p <.001) และด้านความสามารถในการควบคุมความคิดที่ไม่พอใจในการเป็นผู้ดูแล (t= -9.618, p <.001) สรุป การพัฒนาแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้รูปแบบการพัฒนา ศักยภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ มีความสําคัญและช่วยให้แกนนํามีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุได้ดีขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2008
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_038.pdf1.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น