กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1958
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวัคซีนจากแอนติเจนในกลุ่มเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนสาหรับโรคพยาธิใบไม้ตับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developments of the vaccines using protease enzymes for fasciolosis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรอนันต์ เกื้อไข่
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: วัคซีน
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
แอนติเจน
โรคพยาธิใบไม้ตับ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: Fasciola gigantica cathepsinL, B (CatL, CatB) จัดอยู่ในกลุ่มเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนที่มีความสำคัญ มีการแสดงออกมากในเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และปล่อยสู่สารที่พยาธิหลั่งออกมา (ES product) ชนิดของ CatL และ B ที่แตกต่างกันจะมีการแสดงออกทั้งในตัวอ่อนระยะแรก ๆ และตัวเต็มวัยของพยาธิสาหรับการเคลื่อนที่และย่อยอาหาร ดังนั้น โปรตีน CatL และ B น่าจะเป็นเป้าหมายสาหรับการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ F. gigantica ในการศึกษาครั้งนี้ มีการผลิต Recombinant pro-F.gigantica CatL1 (rpFgCatL1), recombinant mature F. gigantica CatL1 (rmFgCatL1), CatL1H, CatL1G, CatB2 ในแบคทีเรียสายพันธ์ Escherichia coli BL21 ซึ่งมีมวลโมเลกุล เท่ากับ 30, 25, 25, 25, 28 กิโลดาลตัน ตามลาดับ ในการทดสอบวัคซีนของโปรตีน rmFgCatL1G ใช้หนูสายพันธ์ Imprinting Control Region (ICR) กลุ่มละ 10 ตัว โดยมีการฉีดโปรตีนครั้งละ 50 ไมโครลิตร เข้าใต้ผิวหนัง หลังจากการฉีดกระตุ้นครั้งสุดท้าย 2 สัปดาห์ ได้ทาให้หนูติดเชื้อโดยป้อนตัวอ่อนพยาธิระยะติดต่อ (metacercariae) ตัวละ 15 metacercariae ซึ่งผลการทดสอบวัคซีนมีการแสดงระดับการป้องกันการติดเชื้อในกลุ่ม rmFgCatL1G เท่ากับ ร้อยละ 56.5 และ 58.3 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม non vaccinated-infected และ adjuvant-infected controls ตามลำดับ แอนติบอดีในกลุ่มที่ฉีดกระตุ้นด้วยโปรตีนมีการทำปฏิกิริยากับ newly excysted juveniles (NEJ), 4-week-old juveniles and the ES products of 4 week-old juveniles หลังจากทดสอบโดยวิธี dot blotting และพบว่าในกลุ่มที่ฉีดกระตุ้นด้วยโปรตีนมีการตอบสนองทั้ง Th1 และ Th2 ซึ่งสอดคล้องกับระดับแอนติบอดี IgG1 และ IgG2a ที่เพิ่มขึ้น ระดับของเอนไซม์ตับ Serum Glutamic Oxaloacetic Transferase (SGOT) และ Serum Glutamic Pyruvate Transferase (SGPT) ในกลุ่ม rmFgCatL1G แสดงให้เห็นการลดลงแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม รอยโรคที่เกิดกับตับในกลุ่มวัคซีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรตีน rmFgCatL1G มีศักยภาพในการเป็นวัคซีนป้องกันพยาธิใบไม้ตับ F. gigantica และอาจจะมีการทดสอบในสัตว์เคี้ยวเอื้องและมนุษย์ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1958
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2563_083.pdf1.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น