กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1949
ชื่อเรื่อง: การตรวจจับการหกล้มของผู้สูงอายุในห้องพักในบ้านพักคนชรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fall detection system for monitoring an elderly person in elderly care center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูสิต กุลเกษม
สุวรรณา รัศมีขวัญ
เบญจภรณ์ จันทรกองกุล
กฤษณะ ชินสาร
อัณณ์นุพันธ์ รอดทุกข์
ชิดชนก เหลือสินทรัพย์
อภิเชษฐ์ ยาใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ
คำสำคัญ: การหกล้มในผู้สูงอายุ -- การป้องกัน -- เครื่องมือและอุปกรณ์
ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ผู้สูงอายุ -- การดูแล -- เครื่องมือและอุปกรณ์
ผู้สูงอายุ -- บริการทางการแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การตรวจจับการล้มในผู้สูงอายุยังคงเป็นหนึ่งในงานที่นักวิจัยยังคงให้ความสนใจอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่สถานการณ์ประชากรในประเทศกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมของผู้สูงอายุในเวลาอีกไม่กีปีข้างหน้า ดังนั้นจึงทำให้เกิดความต้องการเครื่องมือที่สามารถช่วยสนับสนุนการตรวจจับการล้มที่มีประสิทธิภาพและมีความถูกต้องสูง รวมถึงราคาที่ไม่แพงในการที่จะแจ้งเตือนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับการตรวจจับโดยใช้มุมมองภาพโดยการใช้กล้องทั่วไปและกล้องที่มีคุณสมบัติอินฟราเรดนั้น นักวิจัยได้นำมาใช้ประยุกต์เพื่อสร้างกล่องขอบเขตสองมิติและสามมิติตามลำดับ ซึ่งกล่องดังกล่าวนี้มีข้อด้อยหลายประการทำให้การตรวจจับมีความผิดพลาด งานวิจัยนี้นำเสนอการปรับปรุงเทคนิคการตรวจจับการล้มในกรณีที่เป็นปัญหาในกล่องขอบเขตเดิม ซึ่งวิธีการที่นำเสนอสามารถทำการแจ้งเตือนก่อนที่จะเกิดการล้มขึ้นได้ ทำให้สามารถเข้าช่วยเหลือเพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บในบางกรณีได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังสามารถที่จะลดปัญหาการตรวจจับที่ผิดพลาดในกรณีที่มีการล้มในทิศทางเข้า/ ออกจากอุปกรณ์รับภาพ รวมถึงในการเคลื่อนไหวที่ทำให้มีการขยับขยายแขน/ ขาออกจากร่างกายได้ โดยใช้กล่องขอบเขตทิศทางแบบปรับตัว (Adaptive Directional Bounding Box) ร่วมกันกับส่วนวิเคราะห์กล่องขอบเขต ซึ่งมีความสามารถคือ 1) ตรวจจับการล้มได้หลายทิศทาง 2) ตรวจจับการล้มได้หลายการจำลองเหตุการณ์เคลื่อนไหว/ล้ม และ 3) ตรวจจับการล้มในกรณีที่ขาบางส่วนถูกบดบัง ผลการทดสอบพบว่าเทคนิคที่นำเสนอสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความถูกต้องสูงขึ้น 41.45% 29.05% และ 6.20% ช่วยเพิ่มค่าความจำเพาะสูงขึ้น 47.94% 32.13% และ 7.75% เมื่อเทียบกับกล่องขอบเขตแบบสองมิติ แบบสามมิติ และแบบทิศทางตามลำดับ รวมถึงค่าความไวสูงขึ้นที่ 15.50% และ 16.75% เมื่อเทียบกับกล่องขอบเขตแบบสองมิติและแบบสามมิติตามลาดับ สำหรับด้านเวลาที่ใช้ตอบสนองการล้ม พบว่าสามารถที่จะเพิ่มความเร็วในการตอบสนองในการตรวจจับได้ดีกว่ากล่องขอบเขตแบบสองมิติและแบบสามมิติที่ 22.81% และ 19.82% ตามลำดับ ซึ่งทาให้เห็นว่าเทคนิคการใช้กล่องขอบเขตทิศทางแบบปรับตัวสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านความถูกต้องและทำให้สามารถตรวจจับได้เร็วขึ้นได้จริง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1949
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_103.pdf3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น