กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1948
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งจากเหง้าเร่วหอม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of potential anticancer compound from Etlingera pavieana rhizome
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผาณตา วาณิชวัฒนเดชา
เอกรัฐ ศรีสุข
มธุรส พงษ์ลิขิตมงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ยารักษามะเร็ง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
เซลล์มะเร็ง
เร่วหอม (พืช) -- การวิเคราะห์
สารสกัดจากพืช
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง แม้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพที่ดีแต่ก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก พืชสมุนไพรที่นำมาศึกษาในครั้งนี้คือ เร่วหอมมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M. Sm. อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ซึ่งพืชในวงศ์นี้หลายชนิดเคยมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งสารสกัดจากเหง้าเร่วหอมเคย มีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบด้วย ผลจากการทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าเร่วหอมและส่วนสกัดย่อยเฮกเซน เอทิลอะซิเตท และน้ำ ด้วยวิธี MTT กับเซลล์มะเร็ง 7 ชนิด (HepG2, HCT116, MCF-7, MDA-MB-231, C33A, SiHa และ Hela) เปรียบเทียบกับเซลล์ ที่ไม่ใช้มะเร็ง 2 ชนิด (293T และ HaCaT) พบว่าสารสกัดทุกชนิด (ยกเว้นส่วนสกัดย่อยน้ำ) สามารถลดการมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารสกัดและเวลาที่ใช้บ่ม และส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ดีที่สุดและไม่เป็นพิษต่อเซลล์ที่ไม่ใช้มะเร็ง เมื่อนำส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทไปแยกต่อด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโตรกราฟ พบว่า sub-fraction ทั้ง 5 ชนิด (F1-F5) สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งที่ใช้ในการทดสอบได้ โดยที่ความเข้มข้นสารน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 μg/ml และเวลาในการบ่มเท่ากับ 24 ชั่วโมง sub-fraction F1 แสดงความเป็นพิษที่จำเพาะต่อเซลล์มะเร็งและไม่มีผลกระทบต่อการเจริญของเซลล์ที่ไม่ใช้มะเร็ง ซึ่งเซลล์มะเร็งที่ตอบสนองต่อ sub-fraction F1 ได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด C33A, เซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MDA-MB-231 และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT116 แสดงให้เห็นว่า sub-fraction F1 มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลากหลายกลุ่มและเหมาะสมที่จะนำไปแยกหาสารประกอบบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1948
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_096.pdf8.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น