กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1920
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพของจุลินทรีย์ทะเล: แหล่งกรดไขมันชนิดจำเป็น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Potential of marine microbes: As the source of essential fatty acids
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณิษา สิรนนท์ธนา
จารุนันท์ ประทุมยศ
จันทร์จรัส วัฒนะโชติ
สมรัฐ ทวีเดช
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: กรดไขมัน
จุลินทรีย์ทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาศักยภาพของจุลินทรีย์ทะเลในครั้งนี้ มุ่งเน้นการหากรดไขมันชนิดจำเป็นจากตัวอย่างยีสต์ ตัวอย่างแอคติโนมัยซีท เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของกรดไขมันชนิดจำเป็น และได้มีการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียกกลุ่มวิบริโอที่ก่อโรคในสัตว์น้ำ ของสารสกัดจากเซลล์และน้ำเลี้ยงของแอคติโนมัยซีท เพื่อให้ได้ข้อมูลในการพัฒนาศักยภาพของจุลินทรีย์ทะเลในด้านอื่น ๆ ด้วย โดยทำการศึกษาชนิดและปริมาณกรดไขมันในตัวอย่างยีสต์ทะเล 6 ตัวอย่าง ที่คัดแยกจากน้ำทะเลบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรีในปี 2556 พบว่ายีสต์ทุกชนิดที่เลี้ยงด้วยอาหาร YM มีการผลิตกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว โดยคุณลักษณะกรดไขมันส่วนใหญ่จะเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) ผลการศึกษาพบว่ายีสต์ BS1-2, BS6-2 มีการผลิตกรดไขมันจำเป็น Linoleic acid (C18:2n6) และ α - Linolenic acid (C18:3n3) สูงกว่าตัวอย่างอื่นๆ แต่ BS6-2 มีการเจริญที่ดีกว่า BS1-2 จึงเลือกตัวอย่างยีสต์ BS6-2 โดยพบว่าการเลี้ยงด้วยอาหารกากชานอ้อย ที่ความเค็ม 25 พีพีที เป็นเวลา 72 ชั่วโมง ได้ปริมาณกรดไขมันจำเป็นชนิด C18:2n6 สูงสุด (22.58 ± 1.24%) และจากการศึกษาชนิดและปริมาณกรดไขมันในเซลล์แอคทีโนมัยซีทคัดแยกจากดินป่าชายเลนและฟองน้ำทะเล จังหวัดจันทบุรี ระยอง ชลบุรี ชุมพร และ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2556-2558) จำนวน 63 ตัวอย่าง ทำการเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ISP 2 เป็นระยะเวลา 3-14 วัน อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียล ความเค็ม 20 ppt. เขย่า 100 rpm. ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างแอคทีโนมัยซีท NS 2-2 ที่คัดแยกจากดินตะกอนป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีปริมาณกรดไขมันโดยรวมสูงสุดคิดเป็นปริมาณร้อยละ 96.28 โดยพบกรดไขมันจำเป็น C18:2n6 ในปริมาณ 37.38 ±0.27 %TFA และพบกรดไขมัน C18:3n3 4.07±0.09 %TFA รองลงมาเป็นตัวอย่าง NS 4-6 ที่คัดแยกจากดินตะกอนป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราชเช่นกัน พบกรดไขมันโดยรวมในปริมาณร้อยละ 87.94 โดยกรดไขมันชนิดจำเป็น C18:2n6 พบในปริมาณ 36.26±0.88 % TFA และ C18:3n3 พบปริมาณ2.75±0.14 %TFA และแอคทีโนมัยซีท WN POR 02-1 ที่คัดแยกจากฟองน้ำทะเลพบกรดไขมันโดยรวมปริมาณร้อยละ 84.33 โดยพบกรดไขมัน C18:2n6 ปริมาณ 28.61±0.17 % และพบ C18:3n3 ปริมาณ 2.02±0.32 % แต่จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าปริมาณกรดไขมัน C18:3n3 พบในปริมาณที่ต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ได้ปริมาณ C18:3n3 ที่มากขึ้นควรมีการหาสภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงต่อไป จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ V. parahaemolyticus, V. alginolyticus และ V. vulnificus ที่ก่อโรคในปลาของสารสกัดจากเซลล์และในส่วนของน้ำเลี้ยง แอคติโนมัยซีทจำนวน 39 ไอโซเลต ด้วยเทคนิด disc diffusion ในปี 2556-2558 ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจำนวน 14 ไอโซเลต แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ โดยที่ไอโซเลต NS3-10, CP 58 5-2 แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อสูงสุดโดยมีขอบเขตการยับยั้งอยู่ระหว่าง 19-22 mm.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1920
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_056.pdf9.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น