กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/192
ชื่อเรื่อง: การใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดของเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบพัฒนา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Utilization of biodegrading microorganisms on the waste treatment of intensive pond-reared P. monodon
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งกุลาดำ - - การเลี้ยง
กุ้งกุลาดำ - - วิจัย
จุลินทรีย์
น้ำเสีย - - การบำบัด
บ่อเลี้ยงกุ้ง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการคัดแยกจุลินทรีย์ในดินตะกอนจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่มีคุณสมบัติของโพรไบโอติกที่ดี คือ สามารถย่อยสลายสารอาหาร 3 ประเภท คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและมีคุณสมบัติอื่นๆที่ไม่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพที่สำคัญ ทนต่อความเค็มในระดับต่าง ๆ สามารถต่อต้าน V.harveyi และมีความสามารถในการย่อยสลายแอมโมเนีย ไนเทรต ไนไทรต์และฟอสเฟสที่ละลายอยู่ในน้ำพบว่าสามารถคัดแยกจุลินทรีย์จากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้ 6 สายพันธุ์ คือ Bacillus polymyxa, B. licheniformis, B. subtilis, B. megaterium, B. thuringiensis และ Oceanisphaera sp. การทดลองความสามารถในการย่อยสลายสาร ไนเทรต ไนไทรต์ แอมโมเนีย และฟอสเฟส โดยการใช้แบตทีเรียผสม 6 ชนิด เปรียบเทียบกับการใช้แบตทีเรียผสม 2 ชนิด พบว่าการใช้แบตทีเรียผสม 6 ชนิด ได้ผลการทดลองในการย่อยสลายสารทั้ง4 ชนิด โดยรวมที่ดีกว่าและไม่เกิดการสะสมของไนไทรต์และแอมโมเนีย ดังนั้นจึงได้เลือกใช้แบคทีเรียผสม 6 ชนิด มาศึกษาการย่อยสลายสารทั้ง 4 ชนิด ภายในบ่อกุลาดำจำลอง พบว่าชุดทดลองที่มีการเติมแบคทีเรียผสมสามารถย่อยสลายสารไนเทรต ไนไทรต์ แอมโมเนียและสารอินทรีย์ได้ดีกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีความสามารถย่อยสลายฟอสเฟสได้แม้ว่าไม่มีความแตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การตรวจติดตามการตรวจแบคทีเรียผสมทั้ง 6 ชนิด ถึงผลกระทบที่มีต่อปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ต่างๆ ในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำจำลองพบว่าบริเวณดินตะกอนจะมีจุลินทรีย์ในกลุ่ม heterotrophs ของชุดทดลองในปริมาณที่มากกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการทดลอง ส่วน Pseudomonus sp. ที่พบในตัวอย่างน้ำและดินตะกอนไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างชุดทดลองและชุดควบคุม สำหรับ Actinomycete ที่พบในบริเวณดินตะกอนชุดทดลองจะมีปริมาณมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ปริมาณ Vibrio sp. ที่พบในน้ำและดินตะกอนของชุดทดลองจะพบในปริมาณที่ต่ำกว่าชุดควบคุม แต่เฉพาะบริเวณดินตะกอนเท่านั้นที่มีปริมาณ Vibrio sp. ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับแบคทีเรียกลุ่ม ammonia oxidizer และ nitrite oxidizer ตลอดระยะเวลาการทดลอง พบว่า ปริมาณของแบคทีเรียทั้ง 2 กลุ่มในน้ำจะมีปริมาณไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเติมเชื้อแบคทีเรียทั้ง 6 ชนิด แต่จะขึ้นอยู่กับการเติมแอมโมเนีย ไนไทรต์ และไนเทรต ส่วน แบคทีเรียกลุ่ม sulfide oxidizer ในบริเวณดินตะกอนจะมีจำนวนลดลงตามระยะเวลาการทดลองแต่ในน้ำของชุดทดลองจะมีการเปลี่ยนแปลง จำนวนตลอดระยะเวลาการทดลอง การผลการทดลองในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าแบคทีเรียผสมทั้ง 6 ชนิดน่าจะมีประสิทธิภาพและศักยภาพภาพที่จะนำไปสู่การพัฒนาต่อเนื่องไปเป็นผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเพื่อการควบคุมแบคทีเรียก่อโรครวมทั้งควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อกุ้งกุลาดำและสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ในประเทศไทยต่อไปในอนาคต. Abstracts In this study, the potential probiotic isolated from shrimp pond sediments which were capable of degrading nutrrients (protein, lipid, and carbohydrate), tolerating to a wide range of salinity and resisiting to V. harveyi. Moreover, all of isolated supposed to be sensitive to selected antibiotics and were able to degrade ammonia, nitrite, and phosphate dissolved in shrimp pond. There were six strains of identified bacteria as Bacillus polymyxa, B. licheniformis, B. subtilis, B. megaterium, B. thuringiensis และ Oceanisphaera sp. Results showed that the mizture of 6 types of isolates were able to degrade nitrate, nitrite anad ammonia better than the mixture of random 2 types of isolated in serum bottles. In addition there were accumulation of nitrite and ammonia when the biodegradaion of nitrate, nitrite and ammonia by the mixture of random 2 types of isolates but not by the mixture of 6 types of isolstes. AS a consequence, the mixture of 6 types of isolate were used to study about biodegradation of nitrate, nitrite, ammonia, phosphate and organnic matter in the simulated shrimp ponds. Biodegradation of nitrate, nitrite anad ammonia, and organic metter was significantry higher than (p<0.05) the control although there was no significant difference (p>0.05) by 6 types of isolates on degrading phosphate between the two treatments. In this study, the effect of the mixture of 6 isolates added in the simulated shrimp ponds on the change of bacteria and the pathogenic bacteria (Vibro spp.) was evaluated. Results demonstrated that hetertrophic bacteria and Actinomycete in the sediments in the treated ponds increased with time significantry higher than the controls (p<0.05). Concentration of Pseudomonas sp. in water column and sediments were not significantry affected by the addition of the mixture of 6 isolates, compared to the controls (p>0.05). In contrast, the level of Vibrio spp. in water columm and sedments in the treatment with 6 isolates declined significantry (p<0.05), compared to the controls. Concentrations of ammonia oxidizers in water column were not affected by the addition of 6 isolates but depending on the addition of ammonia, nitrite and nitrate. Sulfide oxidizers in sediments decreased with time while the concentration of sulfide oxidizer in the water columm were flucuated with time. In conclusion, the mixture of 6 isolates could be a potential probiotic products which could be developed to be a commericial products capable of controlling water quality without negative effect on the microbial esosystems in the black tiger shrimp ponds.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/192
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น