กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1904
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุภารีย์ เถาว์วงศ์ษาth
dc.contributor.authorชุติมันต์ จันทร์เมืองth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned2019-03-25T09:09:56Z
dc.date.available2019-03-25T09:09:56Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1904
dc.description.abstractโครงการออกแบบเอกลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์การหล่อพร้อมฝังสำหรับของที่ระลึกไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบเอกลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกไทย และศึกษาแนวทางการผลิตของที่ระลึกไทยด้วยเทคนิคการหล่อพร้อมฝังในพลอยเนื้ออ่อน เพื่อตอบสนองความสนใจในสินค้ากลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับของนักท่องเที่ยวต่างชาติในกลุ่มกลางและกลุ่มล่างที่มีกำลังซื้อไม่สูงมาก แต่เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ “การศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการตลาด” เนื่องจากจำนวนประชากรเป็นนักท่องเที่ยวทำให้ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน จึงใช้วิธีสุ่มแบบสะดวก (Convennience Sampling) และกำหนดขนาดประชากรตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน โดยแบบสอบถามประกอบด้วยคำถาม 3 ส่วน คือ (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว (2) การรับรู้เอกลักษณ์ไทยเพื่อการออกแบบ (3) พฤติกรรมการซื้อของที่ระลึก (4) และข้อเสนอแนะอื่น ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลคำถามข้อ (1), (3) และ (4) ใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS for Windows วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์ปัจจัยข้อมูลสภาพทั่วไป และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามในสมมติฐานต่าง ๆ โดยใช้การวิเคราะห์โดยใช้สถิติ t-test และ ANOVA ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลคำถามข้อ (2) ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดประเภทและลงรหัส เพื่อสรุปและอภิปรายผลโดยการบรรยายเป็นความเรียง “การศึกษาและวิเคราะห์เอกลักษณ์ไทยในของที่ระลึก” ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 3 ท่าน โดยการจัดการเสวนาในหัวข้อเรื่องเอกลักษณ์ไทยในของที่ระลึก บันทึกข้อมูลให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์และสรุปข้อมูลในลักษณะความเรียง “การศึกษาเทคนิคการหล่อพร้อมฝังพลอยเนื้ออ่อน” เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลาในกระบวนการผลิต โดยการทดลองหล่อพร้อมฝังอัญมณีโกเมน (Garnet) เพอริดอท (Peridot) โทแพซ (Topaz) อะมิทิสต์ (Amethyst) บนตัวเรือนเทียนและหล่อด้วยโลหะดีบุก จากผลการศึกษาด้านการตลาดและด้านเอกลักษณ์ไทยในของที่ระลึกข้างต้น ผู้วิจัยนำมาสร้างแนวทาง (Framework) เพื่อใช้ในการออกแบบเอกลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกไทย และทำการยกตัวอย่างการออกแบบของที่ระลึกจากแนวทางนี้ พร้อมการผลิตตัวอย่างต้นแบบของที่ระลึกด้วยวิธีการหล่อพร้อมฝังอัญมณี เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจมากขึ้น A project titled “Identity Design and Development of Thai Souvenir by Stone-in-Place technique” focused on studying a method for identity designing and developing Thai souvenir. Moreover, the project aimed to study the souvenir’s production by stone-in-place casting technique using semi-precious gemstones. A target market of the souvenir was a group of foreigners in a middle and lower classes who were tourists and interested in gems and jewelry. Even though, individual might not have a strong buying power, but a large number of the tourists could make a potential market. “Marketing data analysis ” on foreign tourists with no certain amount was done using covenience sampling. Size of the population was set at a confidence level of 95%, which gave a resulting sampling population of 400 foreign tourists. A questionnaire composes of four parts; (1) Personal factors of the tourist, (2) Recognition of Thai identity for designing, (3) Buying behavior on a souvenir and (4) Additional suggestion. SPSS for Windows computer program was used to run statistical analysis of results from part (1), (3) and (4) of the questionnaire. Data of general factors was analyzed using descriptive statistics; frequency and percentage. Additionally, inferential statistics was applied to test a relationship between independent and dependent variables in all assumptions using t-test and ANOVA. On the other hand, qualitative research was used to interpret results from part (2) of the questionnaire, where the data was categorized, sorted and then coded and the summary and discussion was expressed in essay writing. “Thai identity in souvenir data analysis” was done using qualitative research method by interviewing 3 specialists. A seminar entitled Thai identity in souvenir was arranged among the three. The relevant data was gathered covering all objectives and summarized in form of an essay. “Study of stone-in-place casting process” was performed to reduce cost and time of souvenir production. Garnet, peridot, topaz and amethyst were set on wax mold and then they were casted with tin. In this research, the results from marketing and Thai identity souvenir were applied to be a framework of identity designing and Thai souvenir development. Accordingly, design example of Thai souvenir was done following the framework. The resulting master model of souvenir was manufactured by stone-in-place casting process with semi-precious gemstone to present the tangible possibility.th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีth_TH
dc.subjectพลอยเนื้ออ่อนth_TH
dc.subjectวิธีการหล่อth_TH
dc.subjectอัญมณีth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการออกแบบเอกลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์การหล่อพร้อมฝังสำหรับของที่ระลึกไทยth_TH
dc.title.alternativeIdentity design and development of Thai souvenir by stone-in-place techniqueen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2559
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_060.pdf7.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น