กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1895
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of Apply Elastic Tube Exercise Program for Chronically Ill Older Adults
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรกมล สิงห์น้อย
พรชัย จูลเมตต์
อวยพร ตั้งธงชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
โรคเรื้อรัง
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สาหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง และเพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนานี้เป็นการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (One group pretest-posttest design) แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ใช้กระบวนพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายโดยการทบทวนเอกสารและออกแบบรูปแบบยางยืดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังการออกแบบและปรับปรุงเป็นจำนวน 3 ซึ่งการออกแบบครั้งที่ 3 มีทั้งสิ้นจำนวน 11 ท่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 เท่ากับ .81 นำเอาไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 คน โดยเก็บข้อมูลเป็นเวลาห่างกัน 1 อาทิตย์ โดยใช้การออกกาลังกายท่าละ 4 ครั้ง เมื่อการปฏิบัติทั้ง 11 ท่า พบว่ามีค่าการใช้พลังงานจากการออกกาลังกายด้วยยางยืดเท่ากับ 59.5 กิโลแคลอรี่ และมีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยเท่ากับ 88.5 ครั้งต่อนาที ค่าความหนักของงานครั้งที่ 1 เท่ากับ 56.50 และครั้งที่ 2 เท่ากับ 57.01 นอกจากนั้นมีค่าความเชื่อมั่นของรูปแบบการออกกาลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สาหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังเท่ากับ 0.94 ตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สาหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพศหญิงจำนวน 19 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข มีอายุเฉลี่ย 69±5.77 ปี น้ำหนักมีค่าเฉลี่ย 56±9.73 กิโลกรัม ส่วนสูงมีค่าเฉลี่ย 154.32±4.24 เซนติเมตร ดัชนีมวลกายมีค่าเฉลี่ย 23.48± 3.77 มีความดันโลหิตตัวบน (Systolic) เฉลี่ยเท่ากับ 146.47±6.53 มม.ปรอท และความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) เฉลี่ยเท่ากับ 87.89±5.58 มม.ปรอท ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงในระดับ 1 กระบวนการวิจัยใช้การทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สาหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังจำนวน 11 ท่า ทำการทดสอบสมรรถภาพกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลัง ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการออก กำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างขึ้นช่วยในการลดลงความดันโลหิตตัวบน การลดลงของค่าอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก การลดลงของค่าดัชนีมวลกาย การพัฒนาสมรรถภาพด้านระบบการหายใจและหลอดเลือดที่มีค่าสูงขึ้น ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีค่าสูงขึ้น ด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อให้มีมากขึ้น และมีค่าการสมรรถภาพด้านการทรงตัวและความว่องไวได้เร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการความดันโลหิตตัวล่าง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโปรแกรมการออกกาลังกายด้วยยางยืดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างขึ้นสามารถนาไปใช้ออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1895
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_081.pdf7.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น