กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1891
ชื่อเรื่อง: การจำแนกพลอยการ์เนต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Classification for Gem Garnet
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันทรัตน์ บุนนาค
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
คำสำคัญ: พลอยการ์เนต
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางเคมีกับค่าดัชนีหักเหของการ์เนตกลุ่มไพราลสไปท์ ศึกษาตัวอย่างการ์เนตกลุ่มสีแดง แดงมืด แดงอมม่วง ม่วงแดง จำนวน 117 เม็ด ตัวอย่างกลุ่มสีส้ม ส้มอมชมพู ส้มอมแดงมืด จานวน 60 เม็ด และการ์เนตเปลี่ยนสี จานวน 10 เม็ด พบว่า การ์เนตสีแดงมืดมีองค์ประกอบเป็นไพโรปต่อแอลมันดีนอัตราส่วนประมาณ 1:1 การเนตสีแดงอมม่วง ม่วงแดงอาจเป็น ไพโรปที่ไม่มีแอลแมนดีน ไพโรปต่อแอลแมนดีนอัตราส่วนประมาณ 2:1 หรือ ไพโรปต่อแอลแมนดีนอัตราส่วนประมาณ 1:2 ตัวอย่างสีส้มมีองค์ประกอบเป็นสเปสซาร์ทีน การ์เนตสีส้มอมชมพูมีองค์ประกอบเป็นไพโรปต่อสเปสซาร์ทีนอัตราส่วนประมาณ 1:1 โดยมีวาเนเดียมที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปรากฏการณ์การเปลี่ยนสี ค่าดัชนีหักเหของตัวอย่างที่มีองค์ประกอบเป็นไพโรปมีค่าต่าที่สุดในการทดลองนี้คือ 1.745 เมื่อมีแอลแมนดีน และ/ หรือสเปสซาร์ทีนมาผสมทาให้ค่าดัชนีหักเหเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 1.81 การใช้ค่าดัชนีหักเหคาดการณ์องค์ประกอบนั้นใช้ได้แบบหยาบเท่านั้น เนื่องจากมี องค์ประกอบหลากหลายที่สามารถอ่านค่าดัชนีหักเหได้ค่าเดียวกัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1891
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_084.pdf12.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น