กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1856
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรในเขตโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of anti-inflammatory activities of medicinal plants from Ban Ang-Ed official community forest (Chaipattana foundation), Chantaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
เอกรัฐ ศรีสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: พืชสมุนไพร
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
สาบแร้งสาบกา
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สาบแร้งสาบกา (วงศ์ Asteraceae) เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้ทั่วไปในทางการแพทย์พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบต่าง ๆ จึงเป็นพืชที่อาจจะเป็นแหล่งของสารต้านการอักเสบที่ดี โดยก่อนหน้านี้คณะผู้วิจัยได้รายงานว่าส่วนสกัดเอทานอลจากใบสาบแร้งสาบกามีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตไนตริก ออกไซด์ (NO) พรอสตาแกลนดิน E2 (PGE2) ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของส่วนสกัดย่อยเฮกเซน ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต และส่วนสกัดย่อยน้ำของส่วนสกัดเอทานอลจากใบสาบแร้งสาบกาในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วยไลโพพิลิแซกคาร์ไรด์ (LPS) ยิ่งไปกว่านั้นส่วนสกัดที่มีฤทธิ์ดียังถูกนำมาแยกส่วนสกัดย่อย หรือสารกึ่งบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์โดยวิธีฤทธิ์ชีวภาพน้ำการสกัด ค่า IC50 ของการยับยั้งไนตริกออกไซด์ของส่วนสกัดย่อยเฮกเซน ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต และส่วนสกัดย่อยน้ำ มีค่าเท่ากับ 39.00 ± 8.97, 8.27 ± 0.21 และ 107.68 ± 25.32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิของส่วนสกัดเอทานอลจากใบสาบแร้งสาบกาถูกนำมาแยกเป็นส่วนสกัดย่อย 10 ส่วนสกัด (F1-F910) ส่วนสกัดย่อย F8 และ F9 มีฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ที่ดีโดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ ท้าการแยกส่วนสกัดย่อย F8 ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโท-กราฟีได้ 14 ส่วนสกัดย่อย (F8.1 ถึง F8.14) และแยกส่วนสกัดย่อย F9 ด้วยเทคนิค HPLC ได้ 4 ส่วนสกัดย่อย น้าไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์และความมีชีวิตรอดในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วย LPS พบว่า ส่วนสกัดย่อย F8.4 ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ดีที่สุด โดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ และส่วนสกัดย่อย F9.4 ที่ความเข้มข้น 10 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ดีกว่าส่วนสกัดย่อยอื่นๆ ที่แยกได้จากส่วนสกัดย่อย F9 นอกจากนี้ยังพบสาร quercetin-3-O-rhamnopyranoside ในส่วนสกัดย่อย F8-F10 ในขณะที่สาร quercetin พบในส่วนสกัดย่อย F8 และ F9 สาร quercetin และ quercetin-3-O-rhamnopyranoside นี้มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วย LPS ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้นโดยไม่แสดงความเป็นพิษอย่างมีนัยสำคัญ สาร quercetin ยังสามารถยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน iNOS และ COX-2 ส่วนสาร quercetin-3-O-rhamnopyranoside (25-200 ไมโครโมลาร์) ลดการแสดงออกของโปรตีน เท่านั้นไม่ยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน COX-2 ดังนั้น quercetin และ quercetin-3-O-rhamnopyranoside อย่างน้อยเป็นสารที่แสดงฤทธิ์ต้านอักเสบของส่วนสกัดย่อย F8-F10 ของใบสาบแร้งสบกา ผลการศึกษาเหล่านี้อาจเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้สมุนไพรสาบแร้งสาบกาเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบต่าง ๆ และยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาตัวยาต้านอักเสบชนิดใหม่ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1856
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_009.pdf3.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น