กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1855
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorฉลองชัย ธีวสุทรสกุล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:09:53Z
dc.date.available2019-03-25T09:09:53Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1855
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ การวิจัย เพื่อ 1.) พัฒนาระบบการเรียนการสอน ( Instructional system) ฟิสิกส์พื้นฐานระดับอุดมศึกษาโดยการศึกษาบทเรียน (lesson study) และ 2.) ประเมินผลระบบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนและทัศนคติของผู้เรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน และสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ที่พัฒนาจากการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือ (instrument) เก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1.) แบบวัด/ แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษา 2.) แบบสอบถาม สาเหตุ/ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ฟิสิกส์พื้นฐานระดับอุดมศึกษา 3.) แบบวัดทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาฟิสิกส์ และ 4.) แบบสอบถามความคิดเห็น/ พึงพอใจของผู้เรียน ต่อระบบการเรียนการสอนฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ซึ่งทุกฉบับมีค่าความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) มากกว่า 0.80 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอนและผู้เรียนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระหว่างปีการศึกษา 2556-2557 โดยแบ่งเป็นกลุ่มให้ข้อมูลเพื่อออกแบบระบบฯ ประกอบด้วยผู้สอน 10 คน และ ผู้เรียน 251 คน และกลุ่มทดลองใช้และปรับปรุงระบบประกอบด้วยผู้สอน 6 คน และผู้เรียน 215 คน ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนฟิสิกส ระดับอุดมศึกษาที่เป็นอยู่ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ สัมภาษณ ผู้สอน สัมภาษณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา สนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้เรียนและผู้สอน ให้ผู้ที่กำลังเรียนหรือผ่านการเรียนฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษามาแล้วเขียนบรรยาย เกี่ยวกับสภาพปัญหาการเรียนการสอนฟิสิกส ของตนเองขณะเรียนอุดมศึกษา ส่งแบบสอบถาม สาเหตุ/ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเรียนรูปฟิสิกส์พื้นฐานระดับอุดมศึกษาไปยังผู้เรียนจำนวน 250 คน จากนั้นวิเคราะห ข้อมูลและสรุปเป็นสภาพปัญหาการเรียนการสอนฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษาที่เป็นอยู่ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา 2. ออกแบบระบบการเรียนการสอนฟิสิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษา แล้วนำไปวิพากษ์ และปรับปรุงด้วยกระบวนการกลุ่มสนทนา (Focus Group) โดยผู้สอนและผู้เรียนซึ่งมาจากทั้ง 3 สถาบันกลุ่มตัวย่าง และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนการสอนฟิสิกส์ จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ครอบคลุมทุกบริบทสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย 3. ทดลองใช้ระบบการเรียนการสอนฟ0สิกส พื้นฐานระดับอุดมศึกษา โดยกระบวนการศึกษาบทเรียน โดยทดลองกับผู้เรียน 4 ครั้ง/รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 กลุ่มผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี สาขาชีววิทยาประยุกต์ จำนวน 12 คน โดยทดลองต่อเนื่องให้ครบทุกขั้นตอนของระบบใช้เวลารวมประมาณ 8 ชั่วโมงหรือ 1 วัน ในวันเสาร หรืออาทิตย์ ซึ่งไม่มีการเรียนการสอนปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งต่าง ๆ รบกวนหรือส่งผลน้อยสุด รอบที่ 2 กลุ่มผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สาขาสถิติจำนวน 13 คน และสาขาเกษตรศาสตร จำนวน 10 คน โดยทดลองภายใต้สภาพการเรียนการสอนปกติ ตามวันเวลาที่ตารางเรียนกำหนด โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห ซึ่งระหว่างนี้อาจได้ผลกระทบจากปัจจัยและสิ่งรบกวนภายนอกในระหว่างการทดลอง รอบที่ 3 กลุ่มผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี สาขาเทคโนโลยีทางการเกษตรจำนวน 15 คน โดยทดลองภายใต้สภาพการเรียนการสอนปกติ ตามวันเวลาที่ตารางเรียนกำหนด โดยใช้ครึ่งภาคเรียน ช่วงหลัง ซึ่งระหว่างนี้อาจได้ผลกระทบจากปJจจัยและสิ่งรบกวนภายนอกในระหว่างการทดลอง รอบที่ 4 กลุ่มผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี สาขาเทคโนโลยีทางทะเล จำนวน 119 คน โดยทดลองภายใต้สภาพการเรียนการสอนปกติ ตามวันเวลาที่ตารางเรียนกำหนดต่อเนื่องตลอดภาคเรียน ซึ่งระหว่างนี้อาจได้ผลกระทบจากปัจจัย/ สิ่งรบกวนภายนอกระหว่างการทดลอง โดยการทดลองแต่ละครั้ง/รอบ จะมีผู้สอน 1 คน ผู้ช่วยสอน 1-2 คน และผู้วิจัย เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนและเก็บข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างการทดลอง จากนั้นประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนและทัศนคติต่อวิชาฟิสิกส ์ ระหว่างก่อนและหลังเรียนและความพึงพอใจ และปรับปรุงระบบฯ เพื่อนำไปทดลองในครั้ง/รอบ ถัดไปผลการทดลอง 1. ระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษาซึ่งได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ แนวคิด/หลักการ 1.1 ด้านความสอดคล้อง ; ระบบฯ ต้อง สอดคล้องกับการเรียนการสอนฟิสิกส์ระดับอุดมศึกษา สอดคล้องกับทฤษฏีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และสอดคล้องกัทฤษฏีการเรียนรูปของออซูเบล 1.2 ด้านความยึดหยุ่น ; ระบบต้องสามารถปรับ/ ประยุกต์ ใช้ได้กับมหาลัยได้ทุกแห่ง โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีศักยภาพการเรียนฟิสิกส์ ระดับกลาง ซึ่งมีจำนวนมากและมีความตั้งใจ 1.3 สามารถนำ หลัก/ ทฤษฏี/ รูปแบบ/ วิธีสอน ฯลฯ มาร่วมหรือผสมผสานกับระบบฯ ได้ 1.4 สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาผสมผสานกับระบบฯ ได้ 1.5 สามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนรู้ฟิสิกส์ ระดับปานกลาง ซึ่งปกติมีจำนวนมาก และเป็นกลุ่มที่แสวงหาวิธีการเรียนรู้ที่จะทำให้ตนเองเรียนรู้ฟิสิกส์ ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามระบบการเรียนการสอนฯ นี้ ยังคงใช้ได้กับผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนรู้ฟิสิกส์ ระดับสูง และระดับต่ำด้วย เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบการเรียนการสอนฯ อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ โครงสร้างของระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษาระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย โครงสร้าง ขั้นตอน และหน่วยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน 2. ผลประเมิน การทดลองใช้ระบบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา 2.1 ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียน พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ด้านทัศนคติต่อวิชาฟิสิกส พบว่าหลังเรียนมีทัศนคติในทางดี (บวก) ต่อวิชาฟิสิกส์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ด้านความคิดเห็น/พึงพอใจ ต่อระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็น/พึงพอใจ ในระดับ “มาก” 3. ข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้ 3.1 ผู้เรียนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับชั้นปีที่ 1 กำลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เริ่มมีอิสระและความคิดเป็นตัวของตนเอง มีความรับผิดชอบมากขึ้น ถ้าทราบเหตุผล/ ประโยชน์ ของวิชาฟิสิกส์ ว่ามีความหมายและความสำคัญอย่างไร จะส่งผลให้ความสนใจและตั้งใจเรียนเพิ่มมากขึ้น 3.2 ผู้เรียนฟิสิกส์ พื้นฐานแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนฟิสิกส์ระดับสูงซึ่งมีจำนวนไม่มาก มีพื้นฐานฟิสิกส์ค่อนข้างดี สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ปกติจะมีวินัยในการเรียนดีมาก กลุ่มที่ 2 เป็นผู้เรียนมีความสามารถเรียนฟิสิกส์ ระดับปานกลางซึ่งมีจำนวนมาก หรือประมาณมากกว่าร้อยละ 60 ของผู้เรียนทั้งหมด มีพื้นฐานฟิสิกส์ ไม่ดี แต่มีวินัยในการเรียนดีถึงดีมาก กลุ่มที่ 3 เป็นผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนฟิสิกส์ ระดับต่ำหรือต่ำมาก มีพื้นฐานฟิสิกส์ไม่ดีหรือต่ำมาก ทั่วไปจะมีวินัยในการเรียนไม่ดี ไม่สนใจ ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ทำการบ้าน ไม่อ่านทบทวน 3.3 ระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ พื้นฐานระดับอุดมศึกษา ซึ่งพัฒนาได้จากการวิจัยครั้งนี้ จะมีประสิทธิภาพมาก ถ้าผู้เรียนมีวินัยการเรียนสูงไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ในกลุ่มความสามารถเรียนฟิสิกส ์ ระดับ สูง ปานกลาง หรือต่ำ และจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้สอนมีประสบการณ์ ในด้านการสอน และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน แต่ประสิทธิภาพจะน้อยลงเหลือเทียบเท่าการเรียนการสอนฟิสิกส์พื้นฐานทั่ว ๆ ไป ที่มีลักษณะผู้สอนเน้นการบรรยาย ผู้เรียนฟังและจดบันทึกth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์th_TH
dc.subjectการศึกษาผ่านบทเรียนth_TH
dc.subjectระบบการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการพัฒนาระบบการเรียนการสอนฟิสิกส์พื้นฐานที่สอดคล้องกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง ด้วยกระบวนการศึกษาผ่านบทเรียนth_TH
dc.typeResearch
dc.author.emailchalongc@buu.ac.th
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the study 1. To develop the instructional system of fundamental physics using lesson analysis 2. To evaluate the study result of fundamental physics, to compare the students’ learning achievement and attitude of students both pre and post of studying, to study the satisfaction with the instructional system of fundamental physics from the study Research Instruments 1. Learning achievement test on fundamental physics in undergraduate level 2. Attitude Test (Questionnaire) 3. Satisfaction Questionnaire on the instructional system of fundamental physics in undergraduate level All three research instruments have Cronbach’s Alpha Coefficient more than 0.80 Subjects of the study The instructors and students of fundamental physics classes at undergraduate level at Burapha University Chanthaburi campus, Rambhai Barni Rajabhat University and Rajamangala University of Technology Thanyaburi during 2013-2014. They were divided into two groups: a research group for instrumental design consisted of 10 instructors and 251 students, and a pilot group for implemental and developmental group consisted of 6 instructors and 215 students. Research Method 1. The study of current teaching and learning problems at undergraduate level using documents and related research, an interview with the instructors, the interview with respected persons in education field, a discussion with the instructors and students in focus group, a written reflection about their experienced problems from those who are studying the fundamental physics class or those who had studied the fundamental physics classes in undergraduate level. Then results were analyzed and concluded as the current problems of fundamental physics instructional system at undergraduate level and the possible guideline for the management of the fundamental physics instructional system at undergraduate level. 2. The design of the fundamental physics instructional system at undergraduate level was constructed. The design then was criticized and developed using the focused groups from the instructors and students of fundamental physics from three mentioned university. It was also analyzed by respected persons in physics from various universities in all aspects. 3. The implementation of the instructional system of fundamental physics with unit analysis with three small pilot groups: 18 agricultural technology students from Burapha University Chanthaburi campus, 12 applied biology from Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 16 statistics students, 13 agriculture students from Rambhai Barni Rajabhat University. There was one instructor with one or two teaching assistants to collect the data and observe the students’ learning behaviors. Teaching in each experiment. The length of continual experiment in all process took about eight hours or one day in non-classes weekends only. The picked dates are suitable for experiment atmosphere with the least or without disturbances. Then, the evaluation of the experiment was conducted using the comparison of the students’ learning achievements. The comparison of pre and post attitudes towards physics class and satisfaction. Then the development of the system was conducted. 4. The implementation of the instructional system of fundamental physics with unit analysis with two regular classes at Burapha University Chanthaburi campus at two continual semesters. The medium subject group was 28 gems and jewelry students and the big subject group was 128 marine technology students. After that, the evaluation of the experiment was conducted using the comparison of the students’ learning achievements. The comparison of pre and post attitudes towards physics class and satisfaction. The final development of the system was conducted. The results of the study 1. The instructional system of fundamental physics in undergraduate level results from this study were as followed: Target group: The system was designed to be suitable for students with physics potential in low and intermediate level. They had the learning’s concentrations; and they were also readily followed the suggestions. As a result, they would be able to comprehend physics subject and pass the exam. In general, they were more than 60% of the students in this group out of the total students from the whole class. The rest were the students with physics potential in upper-intermediate level and the students with no concentration. Theoretical framework: The designed system was based on the theory of adult learning and Ausubel’s the theory of meaning verbal learning. It was appropriate with the students’ age. Flexibility: The system was able to apply and adjust with all fundamental physics classes or general physics classes in all aspects at any university. Moreover, it was also been able to apply the educational fundaments, guidelines, theory, techniques, with the information and communication technology (ICT). Structure of the system: The system was consisted of three main units: an input unit, a process unit, and an output unit respectively. The detail of each unit was as followed: Input unit was the result of students’ learning achievement as the instructors expected. Process unit was combined with nine steps. Step 1. The instructor analyzed the contextual aspects and prepared Thai Qualification Framework for Higher Education . Step 2. The instructor aligned the students’ attitude towards physics with appropriate methods as the instructor designed with an emphasis on the importance of physics on field of study and daily life as well. Step 3. The instructor introduced the system and the implementation of the system was allowed. The students used the system under the control and suggestion of the instructor. In this way, the students had experienced with the instructional system and been able to implement it by themselves. Step 4. The instructor analyzed the content in each topic/each time, designed learning activities and the evaluation. They were designed to suit with the theory of adult learning and Ausubel’s the theory of meaning verbal learning. The instructor also wrote the mapping of learning management as he/she was specialized. It must conform to Step 5-8. Step 5. The instructor told the summary of each unit content together with the objective, the benefits and the evaluation to the students. Step 6. The students would study in advance as designed activities in Step 4 together with self formative assessment. Step 7. The instructor gave the lecture as designed in class activities in step 4 and evaluation. Step 8. The students repeated to understand the activities as the instructors designed in step 4 and evaluation. Step 9. The instructor evaluated and assessed for summative assessment. Step 10. The instructor and the students were analyzed the instructional system to develop it in the next time. Then, there was the repetition of step 4-10 in each topic/each time. The instructor must control, direct, follow, observe, support, motivate the students as an individual and also as a group. Output Unit was the last unit that the instructor collected all mentioned steps to analyze and evaluate the system. The result had to be learning’s achievement, attitudes towards physics subject and other students’ related achievement e.g. learning’s achievement in 21 century. 2. The comparison of pre and post learning achievement with all three small pilot groups with the control of any disturbances has arranged. The medium and the big subject group in regular class throughout the whole semester showed that there was significant difference in all post-class group at .05. Also, the amount of more than 80 % of students had higher mean score of 50% in the final exam. 3. The comparison of all students’ groups showed that they had low attitude words physics before the experiment. However, the result showed that they had medium attitude after the experiment. There was a significant different at .05. 4. The result of questionnaires concerning the satisfaction with the instructional system of fundamental physics in undergraduate level showed that they had “very” satisfied with the system. This was the same path with the results of interviews and teachers’ assessments at the end of each semester. Students concluded that they liked this instructional system; it was very fun; it was selfstudied subject; we knew where should be developed in order to get the better learning outcomeen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_051.pdf1.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น