กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1848
ชื่อเรื่อง: การกำจัดโลหะอันตรายในน้ำทิ้งจากห้องปฏิบัติการด้วยอนุภาค แม่เหล็กนาโน (Fe3O4) เคลือบด้วยพอลิเมอร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Removal of toxic metals in laboratory wastewaters using polymer coated magnetic nanoparticles (Fe3O4)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิธร มั่นเจริญ
ปิยะพร ณ หนองคาย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำทิ้ง
พอลิเมอร์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
โลหะ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ได้การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของการสังเคราะห์อนุภาคแม่เหล็กนาโน ด้วยวิธีการตกตะกอนร่วมระหว่างเฟอร์รัส/เฟอร์ริก (Fe(II) /Fe (III)) ด้วยอัตราส่วนจำนวนโมลเท่ากับ 1:2 โดยได้ศึกษาพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อขนาดและรูปร่างของอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่สังเคราะห์ได้ เช่น ชนิดของเบสที่ใช้ในปฏิกิริยา อัตราการหยดของสารละลายเบส อุณหภูมิในการสังเคราะห์ อัตราการหมุนกวนแท่ง แม่เหล็ก และค่าพีเอชของสารละลาย เป็นต้น และจากผลการศึกษาพบว่าสารละลายแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) เป็นสารละลายเบสที่ให้อนุภาคแม่เหล็กนาโนมีรูปร่างเป็นทรงกลมมากกว่าสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) อัตราการหยดของสารละลายแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสม คือ 15 มิลลิลิตรต่อนาที และสำหรับอุณหภูมิในการสังเคราะห์ อัตราการหมุนกวนแท่งแม่เหล็ก และค่าพีเอชของ สารละลายที่เหมาะสม คือ 50 องศาเซลเซียส 120 นาที และ 1,225 rpm ตามลำดับ นอกจากนี้ในโครงการวิจัยนี้ยังได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการตรวจวัดปริมาณโครเมียม (Cr(VI)) ด้วยเครื่องยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ จากผลการทดลองพบว่า ความยาวคลื่น 542 นาโนเมตร เป็นความยาวคลื่นที่ดูดกลืนแสงสูงสุดที่ใช้ในการตรวจวัดโครเมียมในการทดลองนี้ นอกจากนี้ระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ความเข้มข้นกรดซัลฟิวริก และความเข้มข้นของสารละลายฟีนิลคาร์บาไซด์ที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 5 นาที, 0.5 โมลาร์ และ 0.7 %w/v ตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1848
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2565_204.pdf1.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น