กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1847
ชื่อเรื่อง: การตอบสนองทางพฤติกรรมและความทนทานต่อโลหะหนักของหอยโข่ง (Pila spp.) ที่เป็นชนิดพันธุ์พื้นเมืองและหอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) ที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเพื่อใช้เป็นแนวทางการควบคุมสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavioral responses and heavy metal tolerance of Pila spp. (native species) and Pomacea canaliculata (invasive alien species): approaches for controlling invasive aquatic animals in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทิมา ปิยะพงษ์
ศศิธร มั่นเจริญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การควบคุมสัตว์น้ำ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
หอยเชอรี่
หอยโข่ง
โลหะหนัก
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่มีผลต่อชนิดพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางพฤติกรรม หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานส้าคัญชนิดหนึ่งของโลก การรุกรานของหอยเชอรี่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศ โดยเฉพาะหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง (Pila spp.) ซึ่งหอยเชอรี่อาจแสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น พฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการหนีผู้ล่า และพฤติกรรมความกล้าเสี่ยง จึงท้าให้ประสบความส้าเร็จในการรุกราน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษา สถานภาพการกระจายและปฏิสัมพันธ์ทางพฤติกรรมของหอยโข่งพันธุ์พื้นเมืองและหอยเชอรี่ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 การศึกษาภาคสนาม เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ที่ท้าการเก็บตัวอย่างหอย เพื่อประเมินสถานภาพการกระจาย พบหอยโข่งพันธุ์พื้นเมืองชนิด Pila pesmei มากที่สุดที่บริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จ้านวน 23 ตัว และพบหอยเชอรี่ชนิด Pomacea canaliculata มากที่สุดที่บริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จ้านวน 134 ตัว และในส่วนที่ 2 การศึกษาในห้องปฏิบัติการ เป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางพฤติกรรมระหว่างหอยโข่งพันธุ์พื้นเมืองและหอยเชอรี่พบว่า หอยเชอรี่มีอัตราการกินอาหารและระยะทางในการหนีผู้ล่ามากกว่าหอยโข่งพันธุ์พื้นเมืองอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ แต่หอยทั้ง 2 ชนิดแสดงพฤติกรรมความกล้าเสี่ยงไม่แตกต่างกัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1847
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2565_199.pdf4.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น