กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1812
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสรร กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorเวธกา กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.authorพลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:09:50Z
dc.date.available2019-03-25T09:09:50Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1812
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Quasi Experimental research) เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง เป็นการวิจัยเชิงทดลองประเภทสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ (Two-factors Experiment with Repeated Measure on One factor)กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเรื้อรัง ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา และได้รับการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าแล้วมีคะแนนซึมเศร้าในระดับปานกลางขึ้นไป - รุนแรง จำนวน 39 คน และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย ได้กลุ่มตัวอย่าง 32 คน แล้วนำมาสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) และโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสด้วยเทคนิครัศมีพลังแห่งตนกลุ่มตัวอย่างได้รับ การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล จำนวน 1 ครั้ง 45 นาที และตอบแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล ซึ่งห่างจากระยะหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยวิธีการทดสอบรายคู่แบบ LSD ผลการวิจัย พบว่า ผลการให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังโดยใช้เทคนิครัศมีพลังแห่งตนตามทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังและมีภาวะซึมเศร้ากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษาด้วยเทคนิครัศมีพลังแห่งตนมีระดับภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการให้คำปรึกษาด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีระดับภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการดูแลผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectภาวะซึมเศร้าth_TH
dc.subjectโปรแกรมประสาทสัมผัสth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังตามแนวทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส ปืที่ 3: ผลการให้คำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังth_TH
dc.title.alternativeNeuro-linguistic programming on mental health care of elderly with chronic illness; Saensuk Municipality,Chon Buri, Thailand Phase 3:The Effects of Neuro-Linguistic Programming Counseling on Depression of the Elderly with Chronic illnessen
dc.typeResearch
dc.author.emailsaan@buu.ac.th
dc.author.emailwethaka@buu.ac.th
dc.author.emailpuangtong@buu.ac.th
dc.author.emailploypunk@buu.ac.th
dc.year2559
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to determine the effects of Neuro-Linguistic Programming counseling on depression of the elderly with chronic illness at Saensuk municipality, Chon Buri, Thailand. The study was two-factors experiment with repeated measure on one factor. The sample consisted of the elderly who had depression scale in the high and severe test and volunteered to join the program. There were 32 samples and were simple random sampling for divided into two groups with 16 members in each. The instruments were Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) and Neuro-Linguistic Programming techniques: Personal Power Radiator. The study followed in three phases; pre-test, post-test and follow up phase. The data were analyzed with repeated-measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within subject’s variable method and compared through the LSD test. The results of the effects of Neuro-Linguistic Programming counseling on depression of the elderly with chronic illness found that the interactive between the method and the duration of the experiment was statistically significant at the .05 level. The elderly in the experimental group had lower depression scale than those in the group in the post-test and the follow up phases with the statistical significance at .05 level. The depression scale of the elderly in the experimental group was found to be lower during the post-test and the follow up phases than during the pre-test with the statistical significance at .05 level.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2564_139.pdf2.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น