กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1807
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorบุญรอด บุญเกิดth
dc.contributor.authorบุญเลิศ ยองเพ็ชรth
dc.contributor.authorปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:43Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:43Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1807
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักไตรสิกขา และศึกษาการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผู้วิจัยใช้หลักกรของ ADDIE Model เป็นกรอบของขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การทดลองนำไปใช้ และประเมินผล โดยกลุ่มทดลอง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงใช้ระยะเวลาทดลองกิจกรรมที่สร้างขึ้น 16 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีก่อนและหลังใช้กิจกรรม จำนวน 33 ข้อ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .25-.88 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบ t-test และใช้แบบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักไตรสิกขา แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมฐานศีล กิจกรรมฐานสมาธิ และกิจกรรมฐานปัญญา 2. ระดับคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี ก่อนการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้ไตรสิกขา โดยรวมอยู่ในระดับดี (X = 4.04) หลังการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยใช้หลักไตรสิกขา โดยรวมอยู่ในระดับดี (X = 4.36) 3. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีโดยรวม พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตก่อนและหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยใช้หลักไตรสิกขาแตกต่างกัน (t = 8.10, df = 29) โดยหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักไตรสิกขาที่พัฒนาขึ้นมีระดับคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตทั้งด้านสังคมและด้านจิตใจ ก่อนใช้กิจกรรมและหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักไตรสิกขาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This research aimed to develop the activities that promoted the elderly’s social and mental quality of life in Chonburi with the application of the Three Fold Training Principles, and to study the results of the said activities. ADDIE Model was applied as a conceptual framework. The research included data analysis, research design, development of activities, pilot tests, and valuation. The samples were selected by purposive sampling method. They consisted of 30 elderly people aged above 60who lived in Panus Nikom District, Chonburi Province. The length of pilot test of the activities was 16 weeks. The research tool was a 5-rating scale questionnaire which contained 33 questions. The discrimination was at .25-.88, and the reliability was at .96. SPSS program, percentage, mean, standard deviation, statistic, and t-test were applied in this study. In addition, structured inverviews were used to interview the elderly who participated the activities. The research findings were as follow: 1. The activities that promoted the elderly’s social and mental quality of life in Chonburi with the application of the Three Fold Training Principles included 3 main activities: Sila (percept) Base Activity, Samadhi (concentration) Base Activity, and Panya (wisdom) Base Activity. 2. The level of social and mental quality of life of the Elderly who lived in Chonburi before the application of the activities was good (X= 4.04) while the level of the quality of life after the application of the activities was also in good condition ( X = 4.36). 3. The social and mental quality of life of the Elderly who lived in Chonburi before and after the application of the activities that used the Three Fold Training Principles was different (t = 8.10, df = 29). After the application of the activities the level of the quality of life was higher. (statistic significant =.05) When analyzed aspect by aspect, it found that the social and mental quality of life before and after the application was significantly different at .05.th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินรายได้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2558en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักไตรสิกขา.th_TH
dc.title.alternativeThe development of the activities promoting the elderly's social and mental quality of life in Chonburi with the application of the three fold training principles.th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2559
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น