กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1800
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวุฒิชาติ สุนทรสมัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:43Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:43Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1800
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้เกี่ยวกับข้าวหลามจากตลาดหนองมนของนักท่องเที่ยวและศึกษาความต้องการส่วนประสมการตลาดข้าวหลามจากตลาดหนองมนของนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อข้าวหลามจากตลาดหนองมนของนักท่องเที่ยว และนำไปเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับข้าวหลามจากตลาดหนองมนของนักท่องเที่ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการส่วนประสมการตลาดข้าวหลามจากตลาดหนองมน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว และศึกษาเปรียบเทียบ ความตั้งใจซื้อซ้ำข้าวหลาม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวใช้การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในตลาดหนองมน เลือกตัวอย่างด้วยวิธีตามสะดวก จำนวน 422 คน ใช้แบบสอบถามที่ความเที่ยงตรงและเชื่อมั่น และใช้การวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับข้าวหลามในระดับมาก ส่วนใหญ่ทราบดีว่า ข้าวหลามเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน และเป็นเอกลักษณ์ของหนองมน นักท่องเที่ยวต้องการส่วนประสมการตลาดด้านการจัดจำหน่ายข้าวหลามจากหนองมนในระดับมาก และด้านส่งเสริมการตลาด ด้านราคาระดับปานกลาง นักท่องเที่ยวตั้งใจกลับมาซื้อข้าวหลามระหว่าง 3-6 เดือน มากที่สุด ถ้าราคาของข้าวหลามหนองมนมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิม ผู้ตอบแบบสอบถามไม่แน่ใจว่าจะกลับมาซื้อและถ้าราคาของข้าวหลามหนองมนมีราคาลดลงจากเดิม ผู้ตอบแบบสอบถามจะกลับมาซื้อมากที่สุด และจะเลือกซื้อของทะเลแห้งมากที่สุด ถ้าข้าวหลามจากตลาดหนองมนหมดหรือไม่มีขาย ผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปได้ว่า นักท่องเที่ยวที่เป็นพนักงานบริษัทมีความต้องการส่วนประสมการตลาดที่มีต่อข้าวหลามจากตลาดหนองมนในด้านผลิตภัณฑ์ มากกว่าอาชีพอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการซื้อเพื่อเป็นของฝาก และนักท่องเที่ยวที่ซื้อข้าวหลามจากร้านขายของฝากทั้งในและรอบตลาดมีความต้องการส่วนประสมการตลาดด้านราคามากที่สุด ขณะที่ผู้บริโภคที่เดินทางมาท่องเที่ยวและซื้อข้าวหลามจากตลาดหนองมนที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความตั้งใจซื้อข้าวหลามจากตลาดหนองมนในข้อที่ว่า ถ้าราคา เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ร้อยละ 20 จะกลับมาซื้อซ้ำแตกต่างกัน ถ้าข้าวหลามจากตลาดหนองมนหมดหรือไม่มี นักท่องเที่ยวจะเลือกซื้อสินค้าทดแทนที่แตกต่างกัน โดยนักท่องเที่ยวอาชีพต่างกัน ส่วนใหญ่จะซื้อของทะเลแห้งแทน ทั้งนี้การวิจัยในอนาคต ควรมีการติดตามผลของผู้บริโภคภายหลังการซื้อ สัมภาษณ์เจาะลึก และศึกษาความสัมพันธ์ของความต้องการและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของข้าวหลามth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณเงินรายได้ ปี 2557en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการซื้อซ้ำth_TH
dc.subjectข้าวหลามth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleความรู้เกี่ยวกับข้าวหลาม ความต้องการ และความตั้งใจซื้อซ้ำข้าวหลามจากตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรีของผู้บริโภคth_TH
dc.title.alternativeConsumers' knowledge, needs and repurchase intention behavior to "Kow Lam" at Nongmon marketplace in Bangsean, Chonburi, Thailanden
dc.typeResearch
dc.year2559
dc.description.abstractalternativeThe study aimed to investigate customers’ knowledge of sweet sticky rice in the bamboo “Kowlam” as gift from Nongmon marketplace in Bangsean, Chonburi, Thailand, to study their needs for “Kowlam” marketing mix as well as to study their repurchase intention, and to compare knowledge, needs, and repurchase intention based on personal factors. Descriptive research was conducted. 422 samples were conveniently selected to answer the self- administered and structural questionnaire with high reliability and validity. Descriptive statistics were calculated and Inferential statistics were performed to test the established hypotheses with .058 level of significance. The study found that most respondents had high level of their knowledge on Kowlam. They have mostly purchased a variety choice of Kowlam that was made from white sticky rice with black bean favor from souvenir shops in Nongmon marketplace. They bought ob Kowlams as gifts or souvenirs to bring back for themselves and relatives. Distribution channel of Kowlam was the most consumers’ needs among marketing mix factors. They also intended to repurchase Kowlam within 3-6 months. However, they hesitated to repurchase it, if price of Kowlam was assumed 20% increased while they did intend to repurchase Kowlam, if its price was assumed 20% decreased. Surprisingly, male customers were more satisfied on price than female, while private sector workers were more satisfied on product than the other careers. Future research was recommended to continually follow their post-purchase behavior with depth interview as well as to compare the difference between the needs and satisfaction of Kowlam.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_061.pdf3.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น