กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1787
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ทรายบางส่วนสำหรับคอนกรีตภายใต้สิ่งแวดล้อมทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The application of bottom ash as partially sand replacement for concrete under marine environment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีชัย สำราญวานิช
ศักดิ์จุฬา นามจันทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คอนกรีต
เถ้าก้นเตา
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของคอนกรีดที่ใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ทรายบางส่วนต่อต้านความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ ระยะเวลาการเกิดสนิม การสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมกำลังอัด ความพรุนและขนาดโพรงช่องว่างภายในเฉลี่ยคอนกรีดเผชิญสิ่งแวดล้อมทะเลเป็นระยะเวลา 2 ปี ตัวอย่างคอนกรีตใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.04 และ 0.50 มีการแทนที่ทรายด้วยเถ้าก้นเตาที่ร้อยละ 0 10 และ 30 โดยปริมาณของทราย จากการศึกษาพบว่าคอนกรีดจะมีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ที่สูงขึ้นและการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมลดลงเมื่อใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ทรายร้อยละ 30 โดยปริมาณของมราย จากการศึกษาพบว่าคอนกรีตจะมีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ที่สูงขึ้นและการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมลดลงเมื่อใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ทรายมากขึ้น คอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ทรายร้อยละ 10 มีกำลังอัดสูงกว่าคอนกรีดทั่วไปแต่เมื่อแทนที่ทรายร้อยละ 30 กำลังอัดมีค่าลดลง อย่างไรก็ตามพบว่า คอนกรีดที่ใช้เถ้าก้นเตาถ่านแทนที่ทรายมีความพรุนสูงขึ้นและมีขนาดโพรงช่องว่างภายในเฉลี่ยใหญ่ขึ้น ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดสูงขึ้นของคอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตามาจากกำลังที่สูงขึ้นของเพสต์บริเวณรอบอนุภาคของเถ้าเตาเนื่องมาจากผมของการบ่มภายในปฏิกิริยาปอซโซลานิคของเถ้าก้นเตาและความสามารถในการเก็บกักความชื้นของเถ้าก้นเตา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1787
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น