กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1740
ชื่อเรื่อง: จุลินทรีย์ทะเล: แหล่งใหม่ของสารตัวยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marine microbes: as the new source for drug agents and food supplements
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รวิวรรณ วัฒนดิลก
ณิษา สิรนนท์ธนา
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: จุลินทรีย์ทะเล
ตัวยา
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากผลการดำเนินงานวิจัยทั้ง 6 โครงการย่อยในปีที่ 2 ซึ่งแต่ละโครงการวิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามแผนงาน สรุปได้ดังนี้ ในปีที่ 2 ทำการเก็บตัวอย่างฟองน้ำทะเลบริเวณหมู่เกาะเต่า อ.เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานีระหว่างวันที่ 24-24 เมษายน 2557 จำนวน 8 จุดสำรวจ พบมากที่สุด Order Haplosclerida(15 ชนิด(รองลงมาคือ Order Poeciloscleridaโดยพบฟองน้ำ Biemantrirhaphis(Topsent, 1897)รายงานเป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทย และฟองน้ำ Clionaorientalis Thiele, 1900, Axinyssamertoni(Hentschel, 1912), CladocroceburaphaPutchakarn, de Weerdt, Sonchaeng& van Soest, 2004 รายงานเป็นครั้งแรกในพื้นที่หมู่เกาะเต่า จากนั้นทำการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของเชื้อแบททีเรียที่แยกจากฟองน้ำทะเล พบว่าให้ผลที่น่าสนใจ ทำการแยกเชื้อแอคติโนมัยซีทจากตัวอย่างจากดินตะกอนป่าชายเลนของจังหวัดชุมพรสามารถแยกเชื้อแอคติโนมัยซีท 16 ไอโซเลท และเชื้อแอคติโนมัยซีท 24 ไอโซเลต ถูกแยกจากดินบริเวณป่าชายเลน ปากแม่น้ำพังราด จังหวัดระยอง จากข้อมูลทางสัณฐานวิทยาและ การวิเคราะห์ผนังเซลล์ทางเคมีแอคติโนมัยซีทจากทั้งสองบริเวณอยู่ในแฟมิลี Micromonosporaceaeได้แก่ Micromonspora, Salinispora, Spirilliplanesและ Virgisporangiumเป็นต้น ผลจากการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทร์ทรีย์เบื้องต้นด้วยเทคนิค cross streak กับเชื้อ MRSA, Bacillus subtilis, Candida albicansพบแอคติโนมัยซีท 2 ไอโซเลต และ 4 ไอโซเลท จากจังหวัดชุมพรและระยองสามารถสร้างสารยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทดสอบ ตามลำดับ ทำการปรับปรุงสายพันธุ์แอคติโนมับซีท 6 สายพันธุ์ (CH 54-8, A3-3, CP-PH 3-2, CP-PH 3-12, CH8-4A, และ RY 2-20)ด้วยการเหนี่ยวนำด้วยแสงอัลตราไวโอเลต พบว่าส่วนมากแต่ละสายพันธุ์มีการสร้างสารออกฤทธิ์ได้มากขึ้นเพียงเล็กน้อยยกเว้นแอคติโนมัยซีท RY 2-20 ที่สร้างสารลดลง และ CP-PH3-12 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถสร้างสารที่สกัดได้จากทั้งภายในเซลล์และที่สร้างออกมาในอาหารเลี้ยงเชื้อมากขึ้นกว่าเดิม 6 เท่า และ 2 เท่าตามลำดับ ทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกับสารสกัดของเชื้อแอคติโนมัยซีทที่แยกจากดินตะกอนป่าชายเลนของจังหวัดชุมพรและระยองพบว่าเชื้อแอคติโนมัยซีท 6 สายพันธุ์ แสดงฤทธิ์ฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ได้แก่ CP-PH 3-2, CP-PH3-13, CP-PH 3-22, CP-PH 8-4B, CP3-1 และ RY2-20 โดยที่ CP-PH 3-22 มีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ดีที่สุด (IC50 74.04-+2.1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ขณะที่สายพันธุ์ CP-PH 3-2, CP-PH 3-13, CP-PH3-22 และ RY2-20 ออกฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ ABTS ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 63.3-+6.9, 55.21-+1.3, 74.04-+2.1 และ 66.12-+5.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิตร ตามลำดับ ส่วนของเชื้อแอคติโนมัยซีทที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่น่าสนใจ ได้แก่ เชื้อ CH54-5,A1-3 ซึ่งแยกได้จากดินป่าชายเลน จ.จันทบุรีและดินชายฝั่งทะเล จ.ชลบุรี แสดงฤทธิ์ที่รุนแรงต่อการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureusและ Candida albicans(inhibcans zone 19.25, 19.64; 13.75,7.1 mm ตามลำดับ) ทำการแยกสาร antibiotic pigment จากสารสกัดเชื้อ A1-3 ผลอยู่ในระหว่างการแปลโครงสร้างและประเมินฤทธิ์การยับยั้งเชื้อ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาชนิดกรดไขมันจากเชื้อแอคติโนมัยซีทจากดินป่าชายเลน จ.ชุมพร พบปริมาณรวมกรดไขมันสูงสุดในตัวอย่าง CP-PH 3-9 ปริมาณร้อยละ 41.96 กรดไขมันเป็นชนิดอิ่มตัว (SFAs: 37.63 %TFA)ชนิดกรดไขมันหลักที่พบ ได้แก่ Palmitic acid (C16:0)และ Stearic acid (C18:0)ส่วนกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs)พบในปริมาณที่ต่ำโดยกรดไขมันชนิดจำเป็น Linoleic acid (C18:2n6)พบในตัวอย่าง CP-PH 8-8 ปริมาณ (0.86-+0.03%TFA)และ a-linolenic acid (C18:3n3)พบในตัวอย่าง CP-PH3-9 ในปริมาณ 0.29-+0.02%TFA จากการนำผลของการเลี้ยงยีสต์ Pichia sp. ไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมอาหารปลาสูตรต่างๆเพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันเบื้องต้นของปลากะพงขาว ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าปรสิต C.lrritansระยะ therontเชื้อตาย และยีสต์ Pichia sp. สามารถกระตุ้นให้ปลาตอบสนองต่อแอนติเจนโดยสร้างแอนติบอดีเพิ่มขึ้น ในปีที่ 2 นี้ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวิภาพและเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของจุลินทรีย์ทะเลและฟองน้ำทะเล สัญจรสู่โรงเรียนต่างๆในเขตจังหวัดชลบุรี ได้แก่ โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โรงเรียนสิงห์สมุทร และโรงเรียนชลราษฏรอำรุง เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยคณะผู้วิจัยจากแผนวิจัย “จุลินทรีย์ทะเล: แหล่งใหม่ของสารตัวยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ในช่วงเดือนสิงหาคม 2557 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ 1) เพื่อถ่ายทององค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของจุลินทรีย์ทะเลและฟองน้ำทะเลสู่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยโครงการอบรมดังกล่าว กลุ่มเป้าหมายเป็นคณะครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ จำนวน 450 คน ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการจากโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” จำนวน 62 คน โรงเรียนสิงห์สมุทร จำนวน 158 คน และโรงเรียนชลราษฏรอำรุง จำนวน 189 คน รวมทั้งสิ้น 409 คิดเป็นร้อยละ 409 คิดเป็นร้อยละ 90.89 ซึ่งถือว่าบรรลุผลได้ตามตัวชี้วัดด้านปริมาณที่กำหนดไว้ และจากการประเมินผลความพึงพอใจต่อการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ปรากฎว่ามีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 346 คิดเป็ยร้อยละ 84.59 ของผู้เข้าร่วมโครงการอบรมฯ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากด้วยค่าคะแนนเฉลี่ย 4.07 ถือว่าบรรลุได้ตามตัวชี้วัดด้านผลตอบรับ ที่กำหนดระดับความพึงพอใจไว้ที่ระดับมาก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1740
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2565_182.pdf14.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น