กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1739
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบลักษณะทางพันธุกรรมของการก่อโรคและการวิเคราะห์สงศ์วานวิวัฒนาการของ Vibrio parahaemolyticus สายพันธุ์ที่แยกจากหอยนางรมสด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Moleclar-based characterization of potential virulent markers and phylogenetic analysis of vibrio parahaemolyticus lsolated from raw oyster
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดารัตน์ สวนจิตร
ณัฏฐวี ชั่งชัย
เบญจมาศ โปปัญจมะกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การก่อโรคของวิบริโอ
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของวิบริโอ
พาราฮีโมลัยติคัศ
พาราฮีโมลัยติคัส
วิบริโอ วิบริโอ
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
หอยนางรม
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ได้วิเคราะห์คุณลักษณะของแบคทีเรียที่แยกได้จากหอยนางรมสด จากร้านค้าปลีกบริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จำนวน 1,785 ไฮโซเลท เพื่อบ่งชี้ Vibrio parahaemolyticusโดยเฉพาะสายพันธ์ุก่อโรคและสายพันธ์ระบาดทั่ว เมื่อทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมีและยืนยันเชื้อด้วยการใช้เทคนิคพีซีอาร์เพิ่มปริมาณยีน tl ซึ่งจำเพาะต่อแบคทีเรียชนิดนี้ สามารถระบุเชื่อที่นำมาศึกษาว่าเป็น V.parahaemolticusจำนวน 1,293 ไฮดซเลท เมื่อนำ V.parahaemolyticusดังกล่าวมาตรวจสอบการมีอยู่ของยีนก่อโรค คือ tdhและ trhพบว่ามี 17 ไฮโซเลท( 1.31 เปอร์เซ็นต์) แสดงผลบวกกับยีน tdh และมี 2 ไฮโซเลท (0.15 เปอร์เซนต์) แสดงผลบวกกับยีน trhโดยไม่พบสายพันธุ์ที่มียีนทั้งสองยีนดังกล่าว เมื่อศึกษาลักษณะทางพันธุ์กรรมที่มีความสัมพันธุ์ที่พบระบาดทั่ว โดยการทำ GS-PCR เพื่อตรวจสอบการมีอยู่ของ toxRS/new sequence รวมทั้งตรวจสอบการมีอยู่ของ ORF8 ของฟาจ f237 พบว่ามี 9 ไฮโซเลท (0.31 เปอร์เซนต์) ที่มีจีโนไทป์เป็น tdh+ GS-PCR+ ORF8+ ซึ่งป็นจีโนไทป์ของสายพันธุ์ระบาดทั่ว O3:K6 และซีโรไทป์อื่นๆ ที่แปรผันมาจาก O3:K6 เมื่อวิเคราะห์ซีโรไทป์ของ V.parahaemolyticusที่มีจีโนไทป์ของสายพันธุ์ระบาดทั่ว ร่วมกับสายพันธุ์อื่น พบว่าเชื้อเหล่านี้มีซีโรไทป์หลากหลาย โดยระบุได้เป็น 7 ซีโรไทป์ ได้แก่ O1:KUT, O4:KUT, O11:K36, O4:K41,O1:K68 และO4:K42 โดยที่ O4:KUT เป็นซีรไทป์ที่พบมากที่สุด(33.3 เปอร์เซนต์) โดยในการศึกษานี้ไม่พบจีโนไทป์ O3:K6 ซึ่งเป็นซีโรไทป์หลักของสายพันธุ์ระบาดทั่วอย่างไรก็ตามพบ V.parahaemolyticus 1 ไฮโซเลท(tdh+ GS-PCR+,ORF8+) มีซีโรไทป์ O1:KUT ซึ่งป็นซีโรไทป์หนึ่งที่พบได้ในสายพันธุ์ระบาดทั่ว ส่วนอีก 6 ซีโรไทป์ตรวจนั้น ถือเป็นการายงานครั้งแรกของอุบัติการณ์ในพื้นภาคตะวันออกของประเทศไทยที่ตรวจพบซีโรไทป์เหล่านี้ใน V.parahaemolyticusซึ่งมีจีโนไทป์สัมพันธ์ระบาดทั่ว ในอีกทางหนึ่ง เมื่อวิเคราะห์ข้อมลูลำดับนิวคลีอไทด์ของยีน 16S rRNAและ atpAของ V.parahaemolyticusเหล่านี้พบว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในการบ่งชี้ความแตกต่างในระดับสายพันธุ์ได้ ผลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ชายฝั่งชายทะเลแถบตะวันออกของประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของ V.parahaemolyticusสายพันธุ์ก่อโรคทั่วไปและสายพันธุ์ก่อโรคที่มีความสัมพันธ์กับสายพันธุ์ระบาดทั่ว โดยที่หอยนางรมเป็นแหล่งสะสมเชื้อ V.parahaemolyticusที่สำคัญซึ่งเป็นข้อเบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงควรมีมาตรการการจัดการที่ดี รวมทั้งการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายเพื่อใช้ในการตรวจสอบเชิงระบาดวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและลดความเสี่ยงหรืออีนตรายที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของแบคทีเรียชนิดนี้ในอนาคต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1739
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น