กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1729
ชื่อเรื่อง: การค้นหารงควัตถุที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Discovery of bioactive pigments from marine microorganisms
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รวิวรรณ วัฒนดิลก
ปาริชาติ นารีบุญ
สมรัฐ ทวีเดช
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: จุลินทรีย์ทะเล
รงควัตถุ
อนุมูลอิสระ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดหยาบเอทธิลอะซิเตทชั้นเซลล์และชั้นน้าเลี้ยงจากแอคติโนมัยซีท 10 ไอโซเลท ที่แยกจากดินตะกอนป่าชายเลนในเขตจังหวัดชุมพร และ 3 ไอโซเลท แยกจากดินตะกอนชายฝั่งจังหวัดชลบุรี ระยองและจันทบุรี ผลการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช (DPPH) และเอบีทีเอส (ABTS) พบว่าสารสกัดจากชั้นน้าเลี้ยงมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) ในช่วง 133.07+4.0 – 313.3+7.2 และ 55.21 +1.3 – 248.72+10.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ โดยสารสกัดแอคติโนมัยซีทสายพันธุ์ CP-PH3-2 และ RY2-20 มีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ดีที่สุดมีค่า IC50 เท่ากับ 133.07+4.0 และ 158.59+0.39 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ขณะที่แอคติโนมัยซีท 4 สายพันธุ์ ได้แก่ CP8-4B, CP-PH3-2, RY2-20 และ CP-PH3-22 แสดงฤทธิ์กาจัดอนุมูลอิสระ ABTS ที่รุนแรงโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 55.21+1.3, 63.3+6.9, 66.12+5.4 และ 74.04+2.1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ จากผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์กับสารสกัดหยาบแอคติโนมัยซีท พบว่าเชื้อแอคติโนมัยซีท CP8-4A, CP8-4B, CH54-5 และ A1-3 แสดงฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ต่อเชื้อมาตรฐาน Staphylococcus aureus และ Candida albicans ที่น่าสนใจ ทำการแยกสารประกอบที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ จากเชื้อ A1-3 และ CH54-5 อยู่ในขั้นตอนการแปลโครงสร้าง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1729
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_108.pdf3.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น