กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1727
ชื่อเรื่อง: ความผันแปรตามฤดูกาลของประชาคมปูน้ำเค็ม ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปูน้ำเค็ม
พืชทะเล
หมู่เกาะแสมสาร
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาความผันแปรตามฤดูกาลของประชากรปูใบ้หิน Leptodius exaratus (H.Milne Edwards, 1834) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมปู น้ำเค็มในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช หมู่เกาะแสมสาร โดยทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างปูใบ้หิน L. exaratus ในแนวเขตน้ำขึ้นน้ำลงของบริเวณชายฝั่งของจุดสำรวจ 3 แห่ง คือ ชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะแรด ชายฝั่งของหาดเทียน เกาะแสมสาร และชายฝั่งของหาดลูกลม เกาะแสมสาร ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2557 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยเก็บตัวอย่างทุก 2 เดือน โดยกำหนดพื้นที่ที่ทำการศึกษาในแต่ละจุดสำรวจให้มีขนาดประมาณ 100 ตารางเมตร ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างโดยใช้การจับด้วยมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยใช้คนจับทั้งสิ้น 3 คน เป็นระยะเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นนำตัวอย่างปูแต่ละตัวมาทำการบันทึกข้อมูล ได้แก่ รูปแบบของลักษณะลวดลายสีของกระดอง สัดส่วนเพศผู้-เพศเมียของปู ขนาดความกว้าง-ยาวของกระดองปู และบันทึกจำนวนปูเพศเมียที่มีไข่ติดนอกกระดอง จากการสำรวจได้ตัวอย่างปูใบ้หินทั้งสิ้น 708 ตัว โดยเป็นปูเพศผู้ 418 ตัว และปูเพศเมีย 290 ตัว และพบว่า จุดสำรวจทั้งสามแห่งมีอัตราส่วนปู เพศผู้ต่อปูเพศเมียคล้ายคลึงกันคือ อัตราส่วนปูเพศผู้สูงกว่าปูเพศเมียคือเท่ากับ 1.39:1.00, 1.32:1.00 และ 1.79:1.00 ที่จุดสำรวจที่ 1,2 และ 3 ตามลำดับ และจากการศึกษาลักษณะลวดลายสีของกระดองปูใบ้หิน พบว่า ลักษณะลวดลายสีไม่มีความสัมพันธ์กับเพศของปู สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างของกระดองกับความยาวของกระดอง ที่พบจากจุดสำรวจทั้งสามบริเวณนั้น มีลักษณะที่เหมือนกันคือ เป็นความสัมพันธ์กันแบบเส้นตรง โดยสมการความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างกับความยาวของกระดองปูที่พบบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะแรดคือ Y= 0.6255x+0.6106 ส่วนค่าความสัมพันธ์ของปูที่พบบริเวณชายฝั่งของหาดเทียนและหาดลูกลมคือ Y= 0.6223x+0.6667 และ Y= 0.631x+0.4584 ตามลำดับ และจากข้อมูลจำนวน ขนาด และเพศของตัวอย่างปูใบ้หินที่เก็บรวบรวมได้ในระหว่างการสำรวจที่จุดสำรวจทั้งสามแห่ง ในแต่ละเดือน พบว่า ปูใบ้หินที่พบในช่วงเดือนมกราคมและมีนาคมมีขนาดเล็กกว่าปูที่พบในเดือนอื่นๆ และขนาดของปูใบ้หินที่พบในเดือนกันยายนมีขนาดใหญ่ที่สุด ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า ช่วงฤดูผสมพันธ์ของปูใบ้หินชนิดนี้ส่วนใหญ่อาจอยู่ในช่วงปลายปีหรือช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม พบว่าปูเพศเมียไข่ติด สามารถพบได้ทุกครั้งที่ทำการสำรวจ Studied on seasonal variation on population of a common rock crab Leptodius exaratus (H.Milne Edwards, 1834) which is belong to one species of marine crabs community in the Marine Plant Genetic Conservation Area, Mo Ko Samaesarn, Chon Buri Province. Crabs were collected from the intertidal zone of Rad Islands (western part), Had Tein and Had Luklom of Samaesan Island. The total area for each study sites was one hundred square metres. The specimen of crabs were collected every two months during January to September 2014. Crabs were collected by hand or using suitable equipments for half an hour by three persons. The colour pattern of carapace, carapace width-length of male and female and number of ovigerous crabs were recorded. The total of 708 crabs were collected with 418 males and 290 females. The ratio of male and female crabs were similar at all three sites of study. However, total number of male was more than females and the ratio of male and female were 1.39:1.00, 1.32:1.00 และ 1.79:1.00 at the first, second and third sites respectively. It was found that there is no relationship between colour pattern and sex of crabs. The relationships between carapace width and carapace length of crabs collected from all three sites of study were similar with the linear equation, Y= 0.6255x+0.6106 Y= 0.6223x+0.6667 and Y= 0.631x+0.4584 for Rad Islands (western part), Had Tein and Had Luklom of Samaesan Island, respectively. It was found that the average size of crabs are less in January and March than in other months and the size is the most biggest in September. It is possible that reproductive season of this crab might be around the end of the year or in November or December. However, ovigerous females can be collected every time of the survey.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1727
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น