กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1722
ชื่อเรื่อง: รูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model of Eastern of Arts and culture virtual museum
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญชู บุญลิขิตศิริ
ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: พิพิธภัณฑ์
ศิลปวัฒนธรรม
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยโครงการ รูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออกนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อสงเคราะห์เอกสารและศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับรูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออกรวมทั้งพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบพิพธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก โดยมีขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ระยที่ 1 การสังเคราะห์เอกสารและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสือนภาคตะวันออก ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออกและใน ระยะที่ 3 เป็นการนำเสนอรูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออกโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการลงรายการเชิงสังเคราะห์ม แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ,แบบสอบถามความคิดเห็น และ ใบรับรองรูปแบบ ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยได้แก่ ผู้ดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบความจริงเสมือน(Virtual Reality) ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบรูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนจริงภาคตะวันออกประกอบด้วยการจัดแสดงเนื้อหาเรื่องราวผ่านสื่อมัลติมีเดียหลากหลายรูปแบบในพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนรวมทั้งสิ้น 7 ตอน ประกอบด้วย 1) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกใช้การนำเสนอผ่านภาพ 3 มิติ ประกอบกับภาพกราฟิก ข้อความ รวมทั้งบทบรรยายในการอธิบายลักษณะทางภูมิศาสตร์ 2) กลุ่มชาติพันธ์ในภาคตะวันออก นำเสนอผ่านวีดีทัศน์ประกอบคำบรรยาย,ข้อความ ภาพกราฟิก รวมทั้งภาพ 3 มิติ ในการอธิบายลักษณะทางชาติพันธ์ กิจกรรม วัฒนธรรมรวมทั้งลักษณะที่อยู่อาศัยของชาติพันธ์ต่างๆ 3) ชุมชนโบรานทางภาคตะวันออก นำเสนอผ่านวีดีโอทัศน์ประกอบคำบรรยาย, ข้อความร่วมทั้งภาพกราฟฟิกและภาพ 3 มิติในการอธิบายลักษณะเฉพาะของพื้นที่รวมทั้งข้อมลูทางประวัติศาสตร์ 4) รูปแบบจิตรกรรมของภาคตะวันออกนำเสนอโดยใช้ภาพกราฟิก ผสานกับคำบรรยายและรูปภาพประกอบในการอธิบายข้อมลู 5) รูปแบบประติมากรรมภาพตะวันออกใช้ของภาพ 3 มิติประกอบคำบรรยายและข้อความในการนำเสนอข้อมลู 6) รูปแบบสถาปัตยกรรมของภาคตะวันออกใช้ภาพ 3 มิติ ประกอบกับบทบรรยาย ภาพกราฟิกและข้อความในการนำเสนอข้อมลู และ 7) ศิลปหัตถกรรมของภาคตะวันออกใช้วีดีทัศน์ผสานกับภาพกราฟิก, บทบรรยาย ,ข้อความรวมทั้งภาพ 3มิติในการอธิบายข้อมลู สำหรับเครื่องมือในพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออกประกอบด้วย 7 เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือแสดงหมวดหมู่ของการจัดแสดง 2) แผนที่สำหรับผู้เข้าชม 3) เครื่องนำทางสำหรับผู้เข้าชม 4) เครื่องมือช่วยเหลือหรือแนะนำการใช้งานพิพิธภัณฑ์เสมือน 5) เครื่องมือขยายภาพสิ่งจัดแสดง 6) เครื่องมือสื่อสาน 7) เครื่องมือเชื่อมโยงข้อมูลทรัพยากรกับภานนอกพิพิธภัณฑ์เสมือน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1722
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_109.pdf32.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น