กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1713
ชื่อเรื่อง: ความผันแปรตามฤดูกาลและลักษณะทางพันธุกรรมของประชาคมแพลงก์ตอนสัตว์ ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Seasonal Variation and Genetics of Zooplankton community in the Marine Plant Genetic Conservation Area, Mo Ko Samaesarn, Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขวัญเรือน ศรีนุ้ย
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: พืชทางทะเล
แพลงก์ตอนสัตว์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ศึกษาแพลงก์ตอนสัตว์จากบริเวณเกาะจวง เกาะแสมสาร เกาะปลาหมึก เกาะจระเข้ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือน กันยายน 2557 จำนวน 5 ครั้ง พบแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งสิ้น 13 ไฟลัม 41 กลุ่ม ได้แก่ ไฟลัม Bryozoa, Protozoa, Cnidaria, Ctenophora, Nematoda, Annelida, Sipunculida, Arthropoda, Chaetognatha, Tentaculata, Mollusca, Echinodermata, และ Chordata พบจำนวนตัวรวมเฉลี่ยในในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสูงสุด เท่ากับ 2.53 และ 0.61 X 106 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ไฟลัมที่พบเป็นกลุ่มเด่นคือไฟลัม Chordata ในสกุล Oikopleura sp. ซึ่งพบจำนวนตัวรวมเฉลี่ยสูงสุดช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ เดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายน เท่ากับ 1.46, และ 1.32 X 106 ตัวต่อลูกบาศก์ เมตร ตามลำดับ กลุ่มที่พบมากรองลงมาและมีความสำคัญในระบบห่วงโซ่อาหารในเดือนพฤษภาคม ได้แก่ Lucifer hanseni, Sagitta spp. และ ไส้เดือนทะเล มีจำนวนตัวรวมเท่ากับ 37.60, 27.79, และ 22.30 X 104 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนส์ในไมโทคอนเดรีย 16S ribosomal RNA (16S) และ cytochrome oxidase I (COI) ในตัวอย่างโคพีพอดที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาของ Tortanus forcipatus Giesbrecht, 1889 มีขนาด 269 และ 577 คู่เบส ตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1713
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น