กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1699
ชื่อเรื่อง: การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk reduction and ๆuality of life improvement of heart disease people
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภรณ์ ดีนาน
สมสมัย รัตนกรีฑากุล
วชิราภรณ์ สุมนวงศ์
สงวน ธานี
ชัชวาล วัตนะกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การลดปัจจัยเสี่ยง
คุณภาพชีวิต
โรคหัวใจ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจทาให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาของหลอดเลือดและหัวใจสามารถลดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ ทุเลาความรุนแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองแบบวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบผลของโปรแกรมลดความ เสี่ยงและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดและผู้ป่วยโรคหัวใจวาย คณะวิจัยพัฒนาโปรแกรมการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพและ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตจากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งมีเนื้อหาหลักเป็นการชี้แนะด้านสุขภาพ หลังจากนั้นนาไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และผู้ป่วยโรคหัวใจวาย กลุ่มละ 30 ราย โดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมนาน 4 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาวะสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรม สุขภาพ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตและอุปกรณ์นับก้าว (Garmin, Viofit) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและ ผู้ป่วยโรคหัวใจวายมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพทุกด้าน คะแนนคุณภาพชีวิตและจำนวนก้าวเดินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) แต่ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่า จำนวนก้าวเดินคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นในขณะที่พฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงบางด้านเท่านั้น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมลดความเสี่ยงและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจที่สร้างขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์นี้ สามารถนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างได้ดีและให้ผลลัพธ์ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ การเพิ่มสมรรถภาพร่างกายและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ดี ดังนั้นบุคลากร ทางด้านสุขภาพสามารถนาโปรแกรมการลดความเสี่ยงและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจนี้ไปใช้ในคลินิค แต่เนื่องจากข้อจำกัดของการวิจัยในครั้งนี้ที่มีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กและยังขาดการติดตามผลระยะยาว ดังนั้น การวิจัยครั้งต่อไปจึงควรศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นระยะเวลา ยาวนานขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1699
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_029.pdf555.69 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น