กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1696
ชื่อเรื่อง: จุลชีพที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำ: แหล่งใหม่ของ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ระยะที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marine microbes associated with sponges as sources of bioactive compounds and food supplements, Phase II
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุติวรรณ เดชสกุลวัฒนา
ปรีชา ภูวไพรศิริศาล
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ฟองน้ำทะเล
แบคทีเรียทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: พื้นผิวโลกมากกว่าร้อยละ 70 ถูกปกคลุมด้วยทะเลดังนั้นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากจุลินทรีย์ทะเลจึงป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียทดสอบโดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำในทะเลไทย ซึ่งจะเป็นแหล่งใหม่ของสารออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย จากการคัดแยกแบคทีเรียทะเล ที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำจำนวน 33 ตัวอย่าง ที่เก็บมาจากบริเวณชายฝั่งหมู่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี สามารถคัดแยกแบคทีเรียทะเลได้ 197 สายพันธุ์ พบแบคทีเรียอาศัยอยู่ในฟองน้ำแต่ละตัวอย่างมีปริมาณแบคทีเรียที่แตกต่างกันโดยพบจำนวนน้อยที่สุดใน ฟองน้ำครกสีม่วง TAO-E-02, Xestospongia testudinaria จำนวน 2.0 x 103 โคโลนีต่อกรัม และมากที่สุดฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง TAO-G-08 Oceanapia sagittaria จำนวน 8.66 x 106 โคโลนีต่อกรัม จากการตรวจสอบฤทธิ์การต้านแบคทีเรียทดสอบโดยแบคทีเรียทะเลจำนวน 197 สายพันธุ์ โดยตรวจสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวก ได้แก่ Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus และแกรมลบ ได้แก่ Psedomonas aeruginosa, Vibrio alginoliticus และ Escherichia coli พบว่ามีแบคทีเรียทะเลที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำ 21 สายพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ10.6 ที่แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทดสอบ ได้แก่ B. subtilis, S. aureus, P. aeruginosa และ E. coli แต่ไม่มีแบคทีเรียทะเลใดสามารถยับยั้ง V. alginoliticus โดยในจำนวนนี้มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ T55 H 1-6, T55 J 2-7, และ T55 J 2-6 ที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ดีที่สุดทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ และสามารถจำแนกชนิดได้เป็นสกุล Pseudoalteromonas spp. และ Pseudomonas sp. ตามลำดับ เมื่อนำสายพันธุ์ที่แสดงฤทธิ์ทั้ง 21 สายพันธุ์ มาทำการเพาะเลี้ยงและสกัดสารแยกออกเป็นส่วนของน้ำเลี้ยงสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท และส่วนของเซลล์สกัดด้วยสารละลายผสมเมทานอลและคลอโรฟอร์ม (อัตราส่วน 2:1) และระเหยแห้งด้วย Rotary Evaporator จนได้สารสกัดหยาบทั้งสองส่วน จากนั้นนำไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียซ้ำด้วยวิธี Disc Diffusion Agar Assay พบว่าสารสกัดหยาบของแบคทีเรียทะเลนี้มีเพียง 11 สายพันธุ์ที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทดสอบได้แก่ B. subtilis, S. aureus และ V. alginoliticus แต่มีสารสกัดหยาบของแบคทีเรียทะเล 10 ตัวอย่างสูญเสียความสามารถในการยับยั้ง E. coli
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1696
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น