กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1686
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of aquaculture technology of mandarinfish, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) for conservation and commercial production
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวภา สวัสดิ์พีระ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ปลา - -การเลี้ยง
ปลาแมนดาริน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ เป็นแผนงานวิจัยที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ แผนงานวิจัยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับประมงและการเพาะเลี้ยงชายฝั่งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนำไปสู่การแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง มีวัตถุประสงค์หลักของแผนงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนสำหรับการผลิต เชิงพาณิชย์ มีระยะเวลาการวิจัย 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2558 ปีที่รายงานเป็นปีที่สองของแผนงานวิจัย แผนงานวิจัยประกอบไปด้วย โครงการวิจัย 8 โครงการ ภายใต้ 4 แผนงานวิจัยย่อย สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ประกอบไปด้วย 4 แผนงานวิจัยย่อย 7 โครงการวิจัย ได้รับงบประมาณรวมทั้งสิ้น 4,270,000.00 บาท (สี่ล้านสองแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน) ผลการดำเนินงานพบว่า บรรลุ เป้าหมายของแผนงานวิจัย 7 ตัวชี้วัด จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 7 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่หนึ่งและสองได้ข้อมูลผลงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์การเจริญพันธุ์ของปลาแมนดารินที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น และสามารถนำไปใช้สนับสนุนในการจัดการ การทำฟาร์มเพาะเลี้ยง ในด้านการจัดการพ่อ-แม่พันธุ์ เป็นผลสำเร็จเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดารินของแผนงานวิจัยต่อไป รวมทั้งได้องค์ความรู้พื้นฐานทางด้านพันธุศาสตร์เซลล์ของปลาแมนดาริน เพื่อใช้ในการวางแผนสำหรับการอนุรักษ์ การ ปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นปลาเศรษฐกิจและเพิ่มผลผลิตเพื่อคืนสู่ธรรมชาติตัวชี้วัดที่สาม ได้ระบบเลี้ยงปลาแมนดาริน ในเรื่องของสภาพแวดล้อมต่างๆ ชนิดของ อาหารและปริมาณอาหารธรรมชาติที่เหมาะสม สัดส่วนของพื้นที่ที่ผลิตอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในตู้เลี้ยงกับพื้นที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดาริน ระบบกรองชีวภาพ ระบบการเก็บตัวอ่อนลูกปลา หลังจากนั้นจะมีการสร้างระบบเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในขนาดต่างๆ แล้วทำการทดสอบระบบเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมา และได้สัดส่วนความหนาแน่นของลูกปลาแมนดารินที่เหมาะสม ต่ออัตรารอด การ เจริญเติบโต ในการอนุบาลปลาแมนดารินตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะที่มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) ตัวชี้วัดที่สี่,ห้าและหกได้ข้อมูลการอนุบาลลูกปลาที่ความหนาแน่นของปลาและอาหารที่ เหมาะสม และระยะเวลาของการเปลี่ยนอาหารที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นเทคนิคในการอนุบาลลูกปลาให้มีอัตราการรอดสูง รวมทั้งการเสริมอาหารที่จำเป็นสำหรับอาหารมีชีวิตวัยอ่อน ซึ่งจะส่งผลทำให้ลูกปลามีความแข็งแรง อัตราการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็ว ทำให้มีการสะสมสารสีในลูกปลา ทำให้ปลามีสีสันสวยงามเป็นการเพิ่มคุณภาพและราคาของปลาอีกด้วย ตัวชี้วัดที่เจ็ด ได้ข้อมูลการตลาดที่สมบูรณ์พร้อมนำมาใช้ในการประเมินในการทำฟาร์มต่อไปผลการวิจัยได้ข้อมูลการตลาดจากการสำรวจสมบูรณ์แล้ว สามารถแสดงให้เห็นถึงชนิด ปริมาณและมูลค่าของปลาแมนดารินในตลาดของสัตว์ทะเลสวยงามภายในประเทศ และโรคที่พบในปลาแมนดาริน เพื่อเป็นแนวทางในการรักษา การกักโรคและการป้องกันโรค ผลสำเร็จของงานวิจัยระยะนี้เป็นผลสำเร็จเป้าประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1686
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_019.pdf503.48 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น