กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1674
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของการใช้ยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดในการเพิ่มปริมาณปัสสาวะ ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A randomized controlled trial on triple diuretics in peritoneal dialysis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ระวีวรรณ วิฑูรย์
สมชาย ยงศิริ
พัชริน แน่นหนา
ศิริวดี บุญมโหตม์
ประพันธ์ บุรณบุรีเดช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้ป่วยไต
ยาขับปัสสาวะ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การรักษาให้ร่างกายอยู่ในสภาวะดุลย์น้ำและเกลือแร่เป็นหัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ยาขับปัสสาวะถูกนำมาใช้เป็นยาหลักเพื่อรักษาภาวะน้ำเกิน การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการให้ยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดเพื่อเพิ่มปริมาณปัสสาวะให้แก่ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องจำนวน 51 ราย ถูกแยกเป็น 2 กลุ่มโดยการวิธีการสุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิด (Furosemide 1000 มก. + spironolactone 50 มก.+ HCTZ 100 มก.) และกลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะเพียงหนึ่งชนิด (Furosemide 1000 มก) เก็บข้อมูลพื้นฐาน โรคร่วม ยาประจำ ความดันโลหิต น้ำหนักตัว ข้อมูลการล้างช่องท้อง ปริมาณปัสสาวะต่อวัน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจวัดสารนำด้วยเครื่อง bioimpedance วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ที่เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 ของการศึกษาโดยใช้ student paired t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม รายงานผลในรูป mean + SD ผลการศึกษา: ที่ก่อนเริ่มการวิจัยปริมาณปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ค่าความเพียงพอของการล้างไตทางช่องท้อง (Ccr และ Kt/V urea) ไม่ต่างกันในผู้ป่วยทั้งสอง กลุ่ม เมื่อติดตามไปที่เดือนที่ 3 และ 6 ของการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดมีปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (386.32±733.92 vs. 136.25±629.08 มิลลิลิตร และ 311.58 ±640.31 vs 120.00±624.07 มิลลิลิตร; p<0.001, p<0.001) ค่าการขจัดโซเดียมทางปัสสาวะมีค่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดแต่ลดลงในกลุ่มควบคุมที่ 3 เดือน (+140.96 + 377.80 vs -6.51 + 65.25; p =0.08) ที่เดือนที่ 6 ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มขจัดโซเดียมทางปัสสาวะได้เพิ่มขึ้น โดยกลุ่ม intervention ขจัดได้เพิ่มขึ้นมากกว่าแต่ไม่พบนัยส้าคัญทางสถิติ (p=0.47).การวิจัยนี วัดค่า over-hydration โดยเครื่อง BCM พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดมีค่า over-hydration น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทั้งที่ 3 และ 6 เดือน (-0.44 + 1.62 vs -1.84 + 2.27; p=0.030 and -0.48 + 2.61 vs -1.49 + 2.82; p= 0.02 ) ค่าความดันโลหิต ชีพจร น้าหนักตัว คงที่ตลอดการศึกษา และปริมาณกลูโคสจากน้ำยาล้างช่องท้องมีค่าเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม สรุป: การให้ยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดสามารถเพิ่มปริมาณปัสสาวะและช่วยควบคุมสมดุลน้ำจากการประเมินโดย BCM รวมถึงมีแนวโน้มเพิ่มการขจัดโซเดียมทางปัสสาวะ จึงน่าจะมีประโยชน์ในการน้ำมาใช้รักษาภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1674
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_035.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น