กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1620
ชื่อเรื่อง: การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (ระยะที่ 1)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk reduction and quality of life improvement for people with essential hypertension (Phase 1)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภรณ์ ดีนาน
สมสมัย รัตนกรีฑากุล
สงวน ธานี
วชิราภรณ์ สุมนวงศ์
ชัชวาล วัตนะกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
ปัจจัยเสี่ยง
โรคความดันโลหิตสูง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 200 คน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและการเจ็บป่วย แบบประเมินคุณภาพชีวิตและแบบวัดภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Pearson’s correlation และ Stepwise multiple regression ผลการวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.5 มีอายุเฉลี่ย 66.65 ปี (SD = 10.59) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 87.5 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 11.0 อาชีพอื่นๆ ร้อยละ 42.0 และไม่ได้ประกอบอาชีพคิดเป็น ร้อยละ 28.0 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 57.5 มีระยะเวลาการเจ็บป่วยเฉลี่ย 119.05 เดือน (SD = 77.426) มีระยะเวลาการเจ็บป่วยนานกว่า 6 ปี ร้อยละ 72.0 และมีประวัติการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 59.0 2.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความสามารถในการทำกิจกรรม (r=.266, p<.001) การปรับตัวต่อการเจ็บป่วย (r=.238, p<.001) ภาวะจิตใจและอารมณ์ (r=.276, p<.001) การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย (r=.212, p=.001) และการปฏิบัติตนตามแผนการรักษาและการควบคุมปัจจัยเสี่ยง (r=.117, p =.049) การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค (r = -.204, =.002) ส่วนภาวะซึมเศร้าพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะสุขภาพ (r = -.007, =.46) และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนาย พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะ สุขภาพ ได้แก่ ภาวะจิตใจและอารมณ์ (Beta= .238, p<.001) ความสามารถในการทำกิจกรรม (Beta = .226, p <.001) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ร้อยละ 12.6 3.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวม (r=.316, p<.001) ความสามารถในการทำกิจกรรม (r=.157, p<.013) การปรับตัวต่อการเจ็บป่วย (r=.186, p<.004ภาวะจิตใจและอารมณ์ (r=.399, p<.001) การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค (r=.-.166, p=.009) และภาวะซึมเศร้า (r = -.356, p<.001) และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิต พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิต ได้แก่ ภาวะจิตใจและอารมณ์ (Beta= .193, p<.014) ภาวะสุขภาพ (Beta = .261, p <.001) และภาวะซึมเศร้า (Beta = -.251, p=.001) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ร้อยละ 24.9
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1620
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_047.pdf4.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น