กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1618
ชื่อเรื่อง: การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจวาย (ระยะที่ 1)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: risk reduction and quality of life improvement for people with congestive heart failure (Phase 1)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภรณ์ ดีนาน
สมสมัย รัตนกรีฑากุล
สงวน ธานี
วชิราภรณ์ สุมนวงศ์
ชัชวาล วัตนะกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้ป่วยโรคหัวใจ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive Correlation Research)เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจวาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหัวใจวายที่มารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินคุณภาพชีวิต และแบบวัดภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์พันธ์ของเพียร์สันและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.0 มีอายุเฉลี่ย 57.31 ปี (SD. = 15.60) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 90.0 ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท ร้อยละ75.5 ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเจ็บป่วยน้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 83.0 และมีประวัติการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล 1 ครั้ง ร้อยละ 74.02 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางที่ระดับ .05 ได้แก่ความสามารถในการทำกิจกกรม (r= .487, p <.001) การปรับตัวเกี่ยวกับความเจ็บป่วย (r= .462, p<.001) ภาวะสุขภาพด้านจิตใจและอารมณ์ (r= .365, p = .001) การเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย (r= .320, p < .001) การจัดการภาวะเครียด (r=.218, p =001) การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคและภาวะซึมเศร้า (r= -.291, p < .001; r= -.126, p= .039) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ ความสามารถในการทำกิจกรรม (Beta = .260, p = .002) การปรับตัวเกี่ยวกับความเจ็บป่วย (Beta = .250, p = .002) และภาวะสุขภาพด้านจิตใจและอารมณ์ (Beta = .150, p = .031)โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ภาวะสุขภาพได้เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 29.5 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ได้แก่การรับรู้ภาวะสุขภาพ (r= .290, p<.001) ความสามารถในการทำกิจกรรม (r= .471, p<. 001) หารปรับตัวต่อความเจ็บป่วย (r= .324, p< .001)ภาวะสุขภาพจิตใจและอารมณ์ (r= .559,p< .001) การเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย (r= .178, p =.006)การรับประทานอาหรที่เหมาะสมกับโรคและภาวะซึมเศร้า (r= -.200, p= .003; r= -.317, p <.001) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนาย พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ ภาวะสุขภาพจิตใจและอารมณ์ (Beta = .433, p< .001) และความสามารถในการทำกิจกรรม (Beta = .267, p= .001)โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 36.8 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรด้านสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาโปรแกรมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและป้องกันการกลับไปนอนโรงพยาบาลซ้ำ โดยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคหัวใจวาย มีความสามารถในการทำกิจกรรม การปรับ ภาวะด้านอารมณ์และจิตใจ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย Congestive heart failure patients trend be function decline and rehospitalization because of progression and complication of illness. The objectives of this predictive study were to examine correlated and predicting factors of health perception among congestive heart failure patients. A sample was 200 heart failure patients who follow up at outpatient department of Queen Savangwattna Memorial Hospital, Chonburi. Instrument was a package of interviewing questionnaire including demographics, health perception, depression, and well-being. Data were analyzed using descriptive, Pearson’s correlation, and Stepwise Multiple Regression. The result found that the majority of sample was male (56.0%), age average 57.31 (SD. = 15.60), married status (90.0%), employee (53.5%), income > 10,000 Baht (75.5%), living with congestive heart failure < 5 years (83.0%), and experienced admission at list once (74.02%). Significant factors related to health perception include daily activity(r= .487, p <.001), adaptation(r= .462, p< .001), psychological and emotional (r= .365, p = .001), physical activity and exercise (r= .320, p < .001),stress management(r=.218, p =001),specific eating behavior and depression (r= -.291, p < .001; r= -.126, p= .039) Stepwise Multiple Regression reveled that determinants of health perception included daily activity (Beta = .260, p = .002), adaptation (Beta = .250, p = .002),and psychological and emotional (Beta = .150, p = .031). The total variance explained 29.5% Significant factors related to patients quality of life included health perception (r= .290, p<.001), daily activity (r= .471, p<. 001), adaptation(r= .324, p< .001), psychological and emotional (r= .559,p < .001), physical activity and exercise(r= .178, p =.006), specific eating behavior and depression (r= -.200, p= .003; r= -.317, p <.001).Stepwise Multiple Regression reveled that determinants of quality of life included psychological and emotional (Beta = .433, p< .001) and daily activity(Beta = .267, p= .001) Thetotal variance explained36.8 %. The research results suggested that health care providers and health care services should develop improvement program to promote functional performance and prevent re-hospitalization. Therefore, daily activity, psychological and emotional and physical activity and exercise should be promoted.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1618
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_107.pdf3.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น