กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1572
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวรรรณภา ลือกิตินันท์th
dc.contributor.authorกัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:13Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:13Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1572
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพการจ้างงานแรงงานต่างด้าวในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี และศึกษาผลกระทบของการจ้างแรงงานต่างด้าวที่มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจและงานด้านแรงงานสัมพันธ์ขององค์กร รวมถึงแนวทางการจัดการแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ และแนวทางการเตรียมความพร้อมในการจ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือตัวแทนจากสถานประกอบการ จำนวน 264 คน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ขอ้มุลสำคัญ คือ ผู้จัดการฝ่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการสัมภาษณ์ จำนวน 6 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาาณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร และมีการจ้างงานประเภททักษะ กึ่งทักษะ และไร้ฝีมือ แรงงานทักษะที่มีการจ้างส่วนใหญ่มีสัญชาติญี่ปุ่น แรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือที่มีการจ้างส่วนใหญ่มีสัญชาติกัมพูชา สถานประกอบการการจัดทำประกันสังคมและประกันอื่น ๆ เพิ่มเติมให้กับแรงงานต่างด้าว และแจ้งให้แรงงานต่างด้าวทราบด้วยวาจาและเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนการจ่ายค่าตอบแทนและการประเมินผลใช้มาตรฐานเดียวกับแรงงานไทย ซึ่งผลกระทบด้านเศราฐกิจในการจ้างแรงงานต่างด้าวว่าทำให้มีแรงงานเพียงพอตามความต้องการกำลังคน ผลกระทบด้านแรงงานสัมพันธ์ในการจ้างแรงงานต่างด้าว คือ ปัญหาด้านสัมพันธภาพระหว่างแรงงานต่างด้าวและหัวหน้างาน ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวมีผลต่อเศรษฐกิจระดับองค์กรในด้านต้นทุนการสรรหาที่เพิ่มขึ้น เพราะส่วนใหญ่ว่าจ้างบริษัทนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าว และการจ้างแรงงานต่างด้าวมีผลกระทบต่อแรงงานสัมพันธุ์ในองค์กร เพราะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ที่ต่างกัน โดยแนวทางการจัดการแรงงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ ต้องเน้นการจัดการสื่อสารในองค์กรที่ดี การปรับทัศนคติของแรงงานไทยในการทำงานกับแรงงานต่างด้าวและเน้นการบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรม และสรา้งความเข้าใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ การจัดกิจกรรมสัมพันธ์ และการกำหนดมาตรฐานในการทำงานระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้การเปิดเสรีด้านแรงงานเมื่อรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไม่มีผลกระทบต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว เนื่องจากการจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (ลาว พม่า กัมพูชา) ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ส่วนการจ้างแรงงาานต่างด้าวสัญชาติอื่น ๆ ใช้กฎหมายคนเข้าเมืองในการจ้างงาน สถานประกอบการจึงยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในการจ้างงานที่ชัดเจนth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectประชาคมอาเซียนth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe migrant labor employment in ASEAN economic community: A case study of industrial estate, Chon buri provinceen
dc.typeResearch
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThis research “Migrant Labor Employment and Effect: A case study of Industrial Estate, Chon buri Province.” Aimed to survey the conditions of foreign labor employment in industrial estate, Chonburi province and study effects of migrant labor employment influencing labor relations of corporate, including guidelines for the management of migrant labor employment in the workplace and guidelines for preparation of migrant labor employment to support ASEAN Economics Community (AEC). Quantitative and qualitative researches were used for this study. For quantitative research, 264 of executives, human resource managers or representatives of industrial enterprises in Chonburi were selected by cluster sampling. Questionnaire was used to collect data. Frequency. Percentage, mean and standard deviation were used to analyze data. For qualitative research, a semi-structured interview was used to collect data of human resources managers of 6 enterprises in the industrial estate in Chonburi. Content analysis was used to analyze the collected data. The quantitative study revealed that most enterprises were among automotive and parts Industry in Amata Nakorn Chonburi. Skilled, semi-skilled, and unskilled workers were employed, but most skilled workers Japanese. Most semi-skilled and unskilled workers were Cambodian. Enterprises provided social security and other appended through the spoken and written announcement for those migrant workers. Payment and evaluation were similar to the one used for Thai worker. For economic impact, the employment of migrant workers could put sufficient worker to meet the requirements. For labor relations of corporate, problems of relationship between migrant labor and foreman imoacted migrant labor employment. The qualitative study revealed that the employment of migrant workers impacted organizational economic in rising recruiting costs as most of them were employed through employment agencies for migrant workers. Additionally, the employment of migrant workers impacted labor relations of corporate due to life styles, cultures and ethnic diversity. Guidelines for the management of migrant labor employment in the workplace should focused on effective management of interior Communication, attitude adjustment of Thai workers on migrant workers, the management of cultural diversity, understanding of ethnic diversity, relationship activities, and setting the same standard of work for both Thai and migrant workers. The liberalization of labor as the opening of ASEAN Economics community (AEC) will never impact migrant labor employment as the employment of 3 national migrant workers (Laos, Myanmar and Cambodia) depends on the government policy. Migrant labor employment from other nationalities bases on Immigration Law; thus, such enterprises provide no preparation of the Employment obviously.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น