กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/157
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความสัมพันธ์ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเสียงดังที่มีผลต่อระดับการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ในเขตจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on factors related to hearing efficiency of discotheque workers in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนามัย ธีรวิโรจน์
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การได้ยิน - - วิจัย
ดิสโกเทค - - ชลบุรี - - วิจัย
มลพิษทางเสียง - - ชลบุรี - - วิจัย
สถานเริงรมย์ - - ชลบุรี - - วิจัย
เสียง - - วิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2541
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: กรวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเสียงดังที่มีผลต่อระดับการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ในเขตจังหวัดชลบุรี เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง (Retrospective Study) เพื่อหาปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ ระยะเวลา ลักษณะงานที่สัมผัสเสียงต่อวัน ประวัติการเจ็บป่วย และระดับความดังของเสียง และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยดังกล่าว ที่มีผลต่อระดับการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ในเขตจังหวัดชลบุรี ซึ่งศึกษาในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ทำงานในสถานประกอบการดังกล่าว ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอศรีราชา และเทศบาลเมืองพัทยา จำนวน 6 แห่ง และทำการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ การสัมภาษณ์ประวัติ การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน และการตรวจระดับความดังของเสียงโดยมีกลุ่มศึกษา จำนวน 152 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 40 คน ผลการตรวจวัดสมรรถภาพได้ยินในผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบดิสโก้เทคในช่วงความถี่ 500-2000 Hz พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับหูตึงเล็กน้อย ซึ่งจะพบในหูข้างซ้ายมากกว่าหูข้างขวา โดยมีร้อยละ 54.7 ตามลำดับ และ 49.5 ตามลำดับ ส่วนในช่วงความถี่ 4000-8000 Hz ส่วนใหญ่จะมีหูปกติ ร้อยละ 77.1 เมื่อตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยิน ณ ความถี่ต่าง ๆ ที่ 250, 500, 1000, 2000, 4000, 6000 และ 8000 Hz ทั้งหูซ้ายและหูขวา พบว่าการได้ยินของหูขวาจะดีกว่าหูซ่้าย และการสูญเสียการได้ยินส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงความถี่ 2000-6000 Hz เมื่อเปรียบเทียบระดับความดังที่เริ่มได้ยินในทุกความถี่ทั้งหูซ้ายและหูขวา พบว่ากลุ่มศึกษาจะมีระดับสูงกว่าในกลุ่มเปรียบเทียบ เมื่อทำการเปรียบเทียบผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่ความถี่ 500-2000 Hz พบว่ากลุ่มเปรียบเทียบปกติทั้งหูซ้ายและหูขวา ส่วนกลุ่มศึกษา พบว่าหูซ้าย มีเพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้นที่ปกติ ส่วนหูขวามีเพียงร้อยละ 23.0 ที่ปกติ และที่ความถี่ 4000-8000 Hz นั้นทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ณ ความถี่ต่าง ๆ ที่ 250, 500, 1000, 2000, 4000, 6000, และ 8000 Hz พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 สำหรับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ระยะเวลาการทำงาน ลักษณะงานที่สัมผัสเสียง ระยะเวลาที่สัมผัสเสียงต่อวัน ประวัติการเจ็บป่วยนั้น พบว่าทั้งสองกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศชายและเพศหญิง ที่ความถี่ต่าง ๆ ของหูข้างซ้ายไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นที่ความถี่ 4000 และ 6000 Hz ที่แตกต่างกัน ส่วนหูข้างขวานั้นทั้งสองเพศไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นความถี่ 4000, 6000, และ 8000 Hz ตามลำดับที่มีความแตกต่างกัน ส่วนผลการตรวจวัดระดับเสียงดังภายในสถานประกอบการดิสโก้เทคทั้ง 6 แห่ง มีระดับเสียงอยู่ในช่วง 93.0-111.4 dB(A)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/157
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2541_001.pdf1.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น