กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1556
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเวธกา กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorพิสิษฐ์ พิริยาพรรณth
dc.contributor.authorสุริยา โปร่งน้ำใจth
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.authorสรร กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorคนึงนิจ อุสิมาศth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:12Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:12Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1556
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสถานการณ์ และปัญหา ในการดำเนินวานด้านอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกและ พัฒนาแนวทางและรูปแบบในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพของการดำเนินงานอาชีวอนามัยในโรงงานโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) และทำการประเมินผลการใช้รูปแบบโดยมีขอบเขตการศึกษาวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาในการดำเนินงานอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้รับบริการงานด้านอาชีวอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา จำนวน 85,487 คน กลุ่ม ตัวอย่าง คือ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก สุ่มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยคัดเลือก 3 นิคม กระจายในแต่ละจังหวัด คือ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อมตะซิตี้และเวลโกรว์ และใช้การสุ่มอย่างง่ายในการเลือกโรงงานในแต่ละเขตนิคมอุตสาหกรรม กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ของเครจ์ซี่ และมอร์แกน (Krecie and Morgan , 1960 ) ได้จำนวนของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน ตัวแปรที่ศึกษาคือ 1) สภาพทั่วไปของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ลักษณะของการทำงาน รายได้ ค่าใช้จ่าย ที่พักอาศัย เป็นต้น) ความคาดหวังและการตอบสนองที่ได้รับจากงานบริการอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม ในด้านต่างๆ ของการดำเนินงานอาชีวอนามัย ได้แก่ การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การประเมินสภาพสภาวะสุขภาพอนามัย การบริหารจัดการ การให้คำปรึกษาและข้อมูลทางวิชาการ การประเมินความเสี่ยงและการค้นหาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนทำงาน เป็นต้น และ3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางและข้อเสนอแนะการแก้ไข ปรับปรุงการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย ผลการศึกษา พบว่า 1. ผลวิเคราะห์บริบทด้านการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และ สุขภาพของโรงงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 3 เขตนิคมอุตสาหกรรม ยังไม่มีการดำเนินงานด้านการจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ที่เป็นรูปธรรม 2. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.56) อายุเฉลี่ย 28.76 ปี สถานภาพสมรส โสด (ร้อยละ 55.20) ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (ร้อยละ49.22) มีลักษณะการทำงาน เป็นงานเบา (ร้อยละ 53.13) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,000-25,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 58.07) และ ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน อยู่ในช่วง 10,000-25,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 48.44) ส่วนใหญ่พักอาศัยแบบเช่า (40.86) 3. ระดับความคาดหวังของผู้รับบริการงานอาชีวอนามัยโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก (X̅=4.456, SD=.539)และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริการมีความคาดหวังต่อการบริการงานอาชีวอนามัย อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการประเมินภาวะสุขภาพอนามัย (X̅=4.765, SD=.542) 2) ด้านการประเมินความเสี่ยงและการค้นหาสิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพคนทำงาน (X̅=4.545, SD = .528) และ3) ด้านการบริหารจัดการ (X̅ =4.522, SD =.467) 4.ระดับการตอบสนองที่ผู้รับบริการได้รับต่อการบริการงานอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก (X̅ =3.574, SD =.431) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้รับบริการได้รับการตอบสนองด้านการบริการงานอาชีวอนามัย อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1)ด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ (X̅=3.716, SD = .471) 2) ด้านการประเมินภาวะสุขภาพอนามัย (X̅ =3.688, SD = .390) 3) ด้านการให้คำปรึกษาและข้อมูลทางวิชาการ (X̅ =3.633, SD = .432) 4) ด้านการบริหารจัดการ (X̅ =3.601, SD = .467) 5.การเปรียบเทียบความคาดหวังกับการตอบสนองที่ได้รับ พบว่า ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งหมด 5ด้าน โดยพบว่า ผู้รับบริการมีความคาดหวังต่อการบริการงานอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก มากกว่า การตอบสนองที่ได้รับ ทั้ง 5 ด้าน 6. การเปรียบเทียบระดับการตอบสนองที่ได้รับต่อการบริการงานอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก จำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ลักษณะการทำงาน รายได้ ค่าใช้จ่าย และประเภทที่พักอาศัย พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตาม สถานภาพสมรส และลักษณะการทำงาน โดย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างกัน คือ ด้านการประเมินภาวะสุขภาพ และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า สถานภาพสมรสโสด แตกต่าง กับ สถานภาพสมรสคู่หรือแตกต่างงาน ส่วนลักษณะการทำงานมีความแตกต่างกัน ในลักษณะการทำงานแบบงานเบา แตกต่างกับ ลักษณะการทำงานแบบงานหนัก ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการแก้ปัญหาและปฏิบัติตามแผน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย และนักวิจัยแกนนำได้ ร่วมกันคิดรูปแบบ แผนการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการAIC และร่วมกันจัดทำแผน เพื่อนำไปทดลองใช้ในโรงงานของตนเอง จำนวน 7 โครงการ และ 9 ตัวชี้วัด ประชากร คือ กลุ่มผู้ให้บริการ และผู้รับบริการที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 98 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลและสรุปผล ผลการประเมิน พบว่า 1. ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ เมื่อประเมินตามผลลัพธ์ของแผนงาน และโครงการพบว่า ประสบความสำเร็จ และบรรลุตามเป้าหมายที่คณะทำงานกำหนดไว้ ร้อยละ 100 2. การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ พบว่า มีความพึงพอใจใน ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (X̅=4.17, SD = 0.59) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด มี 2 ข้อ คือ รูปแบบมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งาน (X̅ =4.82, SD =0.59) และรูปแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน (X̅=4.68, SD = 0.84)th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับการสนับสนุนโดย ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectนิคมอุตสาหกรรม - - ไทย (ภาคตะวันออก) การจัดการอุตสาหกรรมth_TH
dc.subjectอาชีวอนามัยth_TH
dc.titleรูปแบบการจัดการอาชีวอนามัยโดยการสร้างความมีส่วนร่วมของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeDevelopmental model for participatory occupational health management in industrial plants of eastern industrial areaen
dc.typeResearch
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study the situation and problems in occupational health management in industrial plants of the eastern seaboard and develop guideline and model to solve the problems and meet the requirements of the occupational health plants health by using participatory action research process. (Participatory Action Research: PAR) and to evaluate this projects. The scope of the study are as follows. Phase l :Study of the situation and the problems in occupational health management of factories in the industrial estates authority of THAILAND. Purposive sampling were recruited in the three industrial estates namely ;LaemChabungChonburi , Amata City, Rayong and Wellgrow, Chachoenggsao.The 384 samples were obtained by using the simple random sampling from 85,487 population and estimated sample size by Krejcie and Mogan Sample size table (Krejcie and Mogan, 1960). Thevariables were: 1) The general population including gender, age, marital status, education level, income, expense and housing. 2) the expectation and responses received from the occupational health service in the industry, including health protection and health promotion, health assessment and health management counseling and academic information, risk assessment and 3) suggestion to solve this problems The study found that, 1. There was no implementation of safety and health in three industrial estates the eastern area obviously 2. The most of the samples were (57.16%) mean age 28.76 years, single Marital status (55.20%). Education level undergraduate (49.22%), work a light job (53.13%) the average income per month mostly in range 10,000 to 25,000 baht per month (58.07%), expense per month in range 10,000 to25,000 baht per month (48.44%) majority residential properties (40.86%) 3. The expectations level of employees in the industrial estates in the east to the occupational health services were at a high level (X̅ =4.456, SD = .539). The most three expectation’s aspects were; 1) the assessment of health (X̅ =4.765, SD = .542) 2) the risk assessment and finding things that may harmful to health workers (X̅=.467). 4. The response level of employees in the industrial estates in the east to the occupational health services were at high level (X̅ =3.574, SD = .431). The employees met their expectations at high level by the fourth aspects; 1) prevention and health promotions (X̅ =3.716, SD = .471) 2) the assessment of health (X̅ =3.688, SD = 390) 3) the counseling and academic information(X̅3.633, SD = .432) and 4) the occupational health management (X̅ =3.601, SD = .467). 5. The comparison between the expectations and responsiveness has been found that all of five aspects were significant differences at the .05 level. 6. The comparison of the responsiveness to the occupational health services by sex, marital status, level of education, job characteristics, income, expense and residential properties. It was found that marital status between single and married was statically significant job was statistically significant differences at.05 level. Phase ll: Planning and implementation, Co-researchers and researchers that contained of 98 persons of persons of main researchers and occupational providers and clients were brainstorm and using an Appreciation Influence Control (AIC) processes to setting projects and plan for developing and solving occupational health service in the assessment of health aspect. There were 7 projects and 9 indicators for implementation. Phase lll: The evaluation and report. It was found that, All of targets in the whole indicators were successful. (100%) and the satisfactions the providers were at the high level (X̅ =4.17, SD = 0.59), especially in practically and appropriately to use (X̅ =4.82, SD = 0.59, X̅ =4.68, SD = 0.84)en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_085.pdf6.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น