กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1556
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการอาชีวอนามัยโดยการสร้างความมีส่วนร่วมของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developmental model for participatory occupational health management in industrial plants of eastern industrial area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เวธกา กลิ่นวิชิต
พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
สุริยา โปร่งน้ำใจ
พวงทอง อินใจ
สรร กลิ่นวิชิต
คนึงนิจ อุสิมาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: นิคมอุตสาหกรรม - - ไทย (ภาคตะวันออก) การจัดการอุตสาหกรรม
อาชีวอนามัย
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสถานการณ์ และปัญหา ในการดำเนินวานด้านอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกและ พัฒนาแนวทางและรูปแบบในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพของการดำเนินงานอาชีวอนามัยในโรงงานโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) และทำการประเมินผลการใช้รูปแบบโดยมีขอบเขตการศึกษาวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาในการดำเนินงานอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้รับบริการงานด้านอาชีวอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา จำนวน 85,487 คน กลุ่ม ตัวอย่าง คือ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก สุ่มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยคัดเลือก 3 นิคม กระจายในแต่ละจังหวัด คือ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อมตะซิตี้และเวลโกรว์ และใช้การสุ่มอย่างง่ายในการเลือกโรงงานในแต่ละเขตนิคมอุตสาหกรรม กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ของเครจ์ซี่ และมอร์แกน (Krecie and Morgan , 1960 ) ได้จำนวนของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน ตัวแปรที่ศึกษาคือ 1) สภาพทั่วไปของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ลักษณะของการทำงาน รายได้ ค่าใช้จ่าย ที่พักอาศัย เป็นต้น) ความคาดหวังและการตอบสนองที่ได้รับจากงานบริการอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม ในด้านต่างๆ ของการดำเนินงานอาชีวอนามัย ได้แก่ การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การประเมินสภาพสภาวะสุขภาพอนามัย การบริหารจัดการ การให้คำปรึกษาและข้อมูลทางวิชาการ การประเมินความเสี่ยงและการค้นหาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนทำงาน เป็นต้น และ3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางและข้อเสนอแนะการแก้ไข ปรับปรุงการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย ผลการศึกษา พบว่า 1. ผลวิเคราะห์บริบทด้านการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และ สุขภาพของโรงงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 3 เขตนิคมอุตสาหกรรม ยังไม่มีการดำเนินงานด้านการจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ที่เป็นรูปธรรม 2. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.56) อายุเฉลี่ย 28.76 ปี สถานภาพสมรส โสด (ร้อยละ 55.20) ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (ร้อยละ49.22) มีลักษณะการทำงาน เป็นงานเบา (ร้อยละ 53.13) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,000-25,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 58.07) และ ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน อยู่ในช่วง 10,000-25,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 48.44) ส่วนใหญ่พักอาศัยแบบเช่า (40.86) 3. ระดับความคาดหวังของผู้รับบริการงานอาชีวอนามัยโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก (X̅=4.456, SD=.539)และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริการมีความคาดหวังต่อการบริการงานอาชีวอนามัย อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการประเมินภาวะสุขภาพอนามัย (X̅=4.765, SD=.542) 2) ด้านการประเมินความเสี่ยงและการค้นหาสิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพคนทำงาน (X̅=4.545, SD = .528) และ3) ด้านการบริหารจัดการ (X̅ =4.522, SD =.467) 4.ระดับการตอบสนองที่ผู้รับบริการได้รับต่อการบริการงานอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก (X̅ =3.574, SD =.431) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้รับบริการได้รับการตอบสนองด้านการบริการงานอาชีวอนามัย อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1)ด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ (X̅=3.716, SD = .471) 2) ด้านการประเมินภาวะสุขภาพอนามัย (X̅ =3.688, SD = .390) 3) ด้านการให้คำปรึกษาและข้อมูลทางวิชาการ (X̅ =3.633, SD = .432) 4) ด้านการบริหารจัดการ (X̅ =3.601, SD = .467) 5.การเปรียบเทียบความคาดหวังกับการตอบสนองที่ได้รับ พบว่า ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งหมด 5ด้าน โดยพบว่า ผู้รับบริการมีความคาดหวังต่อการบริการงานอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก มากกว่า การตอบสนองที่ได้รับ ทั้ง 5 ด้าน 6. การเปรียบเทียบระดับการตอบสนองที่ได้รับต่อการบริการงานอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก จำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ลักษณะการทำงาน รายได้ ค่าใช้จ่าย และประเภทที่พักอาศัย พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตาม สถานภาพสมรส และลักษณะการทำงาน โดย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างกัน คือ ด้านการประเมินภาวะสุขภาพ และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า สถานภาพสมรสโสด แตกต่าง กับ สถานภาพสมรสคู่หรือแตกต่างงาน ส่วนลักษณะการทำงานมีความแตกต่างกัน ในลักษณะการทำงานแบบงานเบา แตกต่างกับ ลักษณะการทำงานแบบงานหนัก ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการแก้ปัญหาและปฏิบัติตามแผน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย และนักวิจัยแกนนำได้ ร่วมกันคิดรูปแบบ แผนการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการAIC และร่วมกันจัดทำแผน เพื่อนำไปทดลองใช้ในโรงงานของตนเอง จำนวน 7 โครงการ และ 9 ตัวชี้วัด ประชากร คือ กลุ่มผู้ให้บริการ และผู้รับบริการที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 98 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลและสรุปผล ผลการประเมิน พบว่า 1. ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ เมื่อประเมินตามผลลัพธ์ของแผนงาน และโครงการพบว่า ประสบความสำเร็จ และบรรลุตามเป้าหมายที่คณะทำงานกำหนดไว้ ร้อยละ 100 2. การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ พบว่า มีความพึงพอใจใน ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (X̅=4.17, SD = 0.59) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด มี 2 ข้อ คือ รูปแบบมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งาน (X̅ =4.82, SD =0.59) และรูปแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน (X̅=4.68, SD = 0.84)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_085.pdf6.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น