กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1535
ชื่อเรื่อง: โครงการการประเมินการตอบสนองทางพฤติกรรมในลูกปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1850)) จากโรงเพาะฟักก่อนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessing behavioural response of hatchery-rear silver barbs (Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1850)) prior to reintroduction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทิมา ปิยะพงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปลาตะเพียนขาว - - การเลี้ยง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การปรับตัวเพื่อป้องกันผู้ล่าในปลาเป็นการตอบสนองเพื่อลดความเสี่ยงในการถูกล่า เช่น การรวมฝูง การเพิ่มขนาดของความลึกลำตัว เป็นต้น ในงานวิจัยนี้สนใจศึกษาการตอบสนองทางพฤติกรรมของลูกปลาตะเพียนขาวต่อผู้ล่า โดยตั้งสมมติฐานว่าการฝึกลูกปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) ที่ได้จากโรงเพาะฟักก่อนนำปลาไปปล่อยตามธรรมชาติให้มีประสบการณ์ที่จะจดจำผู้ล่าตามธรรมชาติจะทำให้ลูกปลามีอัตราการอยู่รอดสูงลูกปลาที่ไม่มีประสบการณ์ จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยแบ่งลูกปลาตะเพียนขาวเป็นสองกลุ่มซึ่งประกอบด้วย กลุ่มที่อยู่ร่วมกับปลาช่อน (Channa striata) และกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ร่วมกับปลาช่อน โดยทำการเลี้ยงในสภาพควบคุมเป็นเวลาสองอาทิตย์ ผลการวิจัยพบว่า ลูกปลาตะเพียนขาวที่อาศัยร่วมกับผู้ล่ามีค่าสัดส่วนความลึกลำตัวมากกว่าปลาในภาวะปราศจากผู้ล่า อย่างไรก็ตามลูกปลา ตะเพียนขาวทั้งสองกลุ่มมีอัตราการอยู่รอดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1535
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_058.pdf3.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น