กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1525
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุเมตต์ ปุจฉาการ
dc.contributor.authorคมสัน หงภัทรคีรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:09Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:09Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1525
dc.description.abstractจากการสำรวจภาคสนามและเก็บตัวอย่างฟองน้ำทะเลบริเวณเกาะขาม เกาะฉางเกลือ และเกาะแสมสาร ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในปีงบประมาณ 2556 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ถึงเดือนมิถุนายน 2556 รวมทั้งสิ้น 10 สถานีสำรวจ โดยการดำน้ำแบบเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ (Scuba diving) เป็นหลัก รวมทั้งการเดินสำรวจและการดำน้ำแบบผิวน้ำ สุ่มสำรวจและเก็บตัวอย่างตลอดทั้งพื้นที่ศึกษาในเวลากลางวัน ตั้งแต่เขต ปะการังพื้นราบ หรือเขตน้ำขึ้นน้ำลงจนถึงเขตปะการัง หรือพื้นทะเลนอกแนวปะการัง พบฟองน้ำ ทะเลทั้งหมด 35 ชนิด จาก 25 สกุล 20 วงศ์ และ 9 อันดับ จากการสำรวจพบฟองน้ำที่พบเสมอและแพร่กระจายอยู่ทั่วไป Oceanapia sagittaria, lotrochota baculifera, Monanchora unguiculata, และ Xestospongia testudinaria ซึ่งฟองน้ำเหล่านี้เป้นฟองน้ำที่พบได้ทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก และเขตอินโดแปซิฟิค กลุ่มของฟองน้ำที่พบมากที่สุดคือ Order Haploscleridaพบ 9 ชนิด รองลงมา Order Poecilosclerida พบ 8 ชนิด สำหรับเอคไคโนเดิร์มพบ 22 ชนิด จาก 5 กลุ่ม (Classess) จำแนกออกเป็น กาวขนนก (Class Crinoidea) 2 ชนิด ดาวทะเล (Class Asteroidea) 1 ชนิด ดาวเปราะ (Class Ophiuroidea) 6 ชนิด เม่นทะเล เหรียญทะเลและเม่นหัวใจ 4 ชนิด และปลิงทะเล (Class Holothuroidea) 9 ชนิด เอคไคโนเดิร์มที่พบเป็นชนิดเด่นและพบเสมอ ได้แก่ เม่นดำหนามยาว, Diadema setosum และปลิงดำ, Holothuria (Lessonothuria) leucospilota เอคไคโนเดิร์มที่พบเป็นชนิดที่พบทั่วไปในแนวปะการังในอ่าวไทย จากการรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชนิดของฟองน้ำทะเลและเอคไคโนเดิร์ม บริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช หมู่เกาะแสมสารและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551-2556 พบฟองน้ำทะเลทั้งหมด 94 ชนิด และเอคไคโนเดิร์ม 35 ชนิด Species diversity of marine sponges had been investigated along the Marine plant genetic conservation area, Mo Ko Samaesarn, Sattahip, Chon Buri province, Thailand. The collections were conducted 4 times duringnovember, 2012 to June, 2013, including 10 sites by using Scuba diving, skin diving and walk census during daytime, randomly throughout collection sites. The result of marine sponges yielded 35 species, from 9 orders, 20 families and 25 genera. The most widely distributrd sponge species throughout the study area were as follow: Oceanapia sagittaria, lotrochota baculifera, Monanchora unguiculata, and Xestospongia testudinaria respectively. There species were commonly found in Gulf. Thailand and the Indo-west Pacific region. The most abundant sponge groups in the area were Haplosclerida (9 species) and Poecilosclerida (8 species). For echinoderms, 22 species were found including Crinoidea 2 species, Asteroidea 1 species. Ophiuroidea 6 species, Echinoidea 4 species and Holothuroidea 9 species. All echinoderms were also commonly found in Gulf of Thailand and the Indo-west Pacific region. The most widely distributed species throughout the study areawere as follow: Diadema setosum, and Holothuria. (Lessonothuria) leucospilota. In conclusion, the updated species list of marine sponges in Samae-sarn islands and adjacent area were recorded as 94 species and 35 species for echinoderm.th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปี 2556en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพืชทะเลth_TH
dc.subjectฟองน้ำทะเลth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.subjectเอคไคโนเดิร์มth_TH
dc.titleฟองน้ำทะเลและเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี)th_TH
dc.title.alternativeMarine sponges and echinoderms (Porifera and Echinodermata) in the Marine plant genetic conservation area, Mo Ko Samaesarn, Chon Buri province (Under the plant genetic conservation project under the Royal initiative of Her Highness Princess Maha Chakri Sith_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น