กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1498
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระยะเวลากัดกร่อนเริ่มต้นของเหล็กเสริมในคอนกรีตที่ผสมเถ้าแกลบเปลือกไม้ภายใต้สิ่งแวดล้อมทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of time to initial corrosion of steel reinforcement in concrete containing rice husk-bark ash under marine environment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ชาลี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ถ้าแกลบเปลือกไม้
เหล็กเสริมคอนกรีต
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษาระยะเวลาเริ่มกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีตที่ผสมเถ้าแกลบเปลือกไม้บดละเอียด (GRBA) ที่แช่ในสิ่งแวดล้อมทะเล โดยใช้คอนกรีตควบคุมทาจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ที่มีอัตราส่วนน้าต่อวัสดุประสาน (W/B) เท่ากับ 0.45 และ 0.65 ในแต่ละอัตราส่วนน้าต่อวัสดุประสาน ใช้เถ้าแกลบเปลือกไม้ที่ผ่านการบดละเอียดแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 15 25 35 และ 50 โดยน้าหนักของวัสดุประสาน หล่อตัวอย่างคอนกรีตขนาด 200x200x200 มม.3 และฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ยาว 50 มม. โดยมีระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเท่ากับ 10 20 50 และ 75 มม. นาตัวอย่างคอนกรีตไปแช่บริเวณชายฝั่งทะเลใน จ.ชลบุรี ทาการเก็บตัวอย่างทดสอบปริมาณคลอไรด์อิสระในคอนกรีต ณ ตาแหน่งที่ฝังเหล็ก การกัดกร่อนของเหล็กที่ฝังในคอนกรีต และทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์อิสระในคอนกรีต หลังแช่คอนกรีตในน้าทะเลเป็นเวลา 2 3 5 และ 7 ปี จากข้อมูลการแทรกซึมของคลอไรด์อิสระในคอนกรีตและปริมาณคลอไรด์วิกฤติ สามารถวิเคราะห์การกัดกร่อนเริ่มต้นในคอนกรีตที่ผสมเถ้าแกลบเปลือกไม้ได้ ผลการวิจัยพบว่า การใช้เถ้าแกลบเปลือกไม้ผสมในคอนกรีตไม่เกินร้อยละ 25 ส่งผลให้ยืดระยะเวลาที่เหล็กเสริมในคอนกรีตเริ่มกัดกร่อนอย่างชัดเจน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1498
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_042.pdf3.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น