กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1494
ชื่อเรื่อง: การเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Learning Environmental awareness base on the buddhist philosophy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญเชิด หนูอิ่ม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: จิตสำนึก
พุทธปรัชญา
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ แนวทาง เนื้อหา แนวคิดและปรัชญาพื้นฐานในการสร้างกระบวนการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา และเพื่อพัฒนาชุด การเรียนรู้การฝึกอบรมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการและพัฒนาแนวคิด ดำเนินการวิเคราะห์รูปแบบแนวทาง เนื้อหาแนวคิดและปรัชญาพื้นฐานในการสร้างกระบวนการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้ของพุทธปรัชญา ระยะที่ 2 พัฒนาชุดการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 ท่าน ระยะที่ 3 จัดกระบวนการสนทนากลุ่มในประเด็นชุดการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 ท่าน ผลการศึกษารูปแบบ แนวทางเนื้อหาแนวคิดและปรัชญาพื้นฐานในการสร้างกระบวนการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา พบว่าแนวคิดพื้นฐานเรื่องการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม จากจุดร่วมของแนวความคิด ทางพุทธปรัชญา และจิตตปัญญาศึกษา คือ เชื่อมั่นในศักยภาพของความเป็นมนุษย์การแสวงหาความรู้จึงต้องเริ่มที่ประสบการณ์ของตนเอง มีหลักธรรมพื้นฐาน เรื่องศีล เพื่อก่อให้เกิดความเมตตาและความรัก การเจริญสติวิปัสสนา การฝึกสมาธิ การพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การมองสรรพสิ่งด้วยใจที่เปิดกว้าง และเห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง สำหรับการพัฒนาชุดการเรียนรู้การฝึกอบรมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา ได้กำหนเกระบวนการเรียนรู้ไว้ 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 คือ การตรวจสอบให้ได้ว่าสิ่งใดที่เป็นการเบียดเบียน ไม่ว่าต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ให้ละลงเสีย นั่นคือสภาวะที่รู้และเข้าใจว่าอะไร สิ่งไหนที่เป็นกุศล และอะไร สิ่งไหนที่เป็นอกุศล โดยกำหนดชุดการเรียนรู้ค้นหาโลกภายใน ขั้นที่ 2 คือ การสร้างระบบการศึกษาที่ทำให้คนมีความสุขจากการที่ได้ให้ ได้รัก ได้เมตตา โดยกำหนดชุดการเรียนรู้ก่อเกิดโลกใบใหม่ ขั้นที่ 3 คือ การเฝ้ามองตามความเป็นจริง นั่นคือ การสร้างปัญญาให้เกิดขึ้น โดยกำหนดชุดการเรียนรู้หนึ่งเดียวกับจักรวาล แนวทางการสร้างชุด การเรียนรู้ยึดหลักตามจิตตปัญาศึกษาผ่านการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดสมาธิจากความสงบตั้งมั่นของร่างกายและจิตใจ ฝึกสังเกตและมีสติอยู่กับปัจจุบันในรูปแบบต่าง ๆ ก่อเกิดการใคร่ครวญภายใน มีความละเอียด อ่อนโยนประณีต สัมผัสการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสรรพสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยเสริมพลังด้วยพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1494
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_144.pdf16.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น